ท่าทางในการขับรถกับความเสี่ยงของอาการปวด





         
การนั่งนานเป็นสาเหตุให้ ปวดหลังได้ แม้ว่าจะนั่งให้ถูกท่าทางอย่างไร เพราะส่วนโค้งของหลังส่วนเอวจะโค้งกลับทิศขณะนั่ง (Reverse Lordosis) ซ้ำร้ายการขับรถจะ บังคับให้ผู้ขับขี่ให้ความสนใจและมีสมาธิกับการขับรถโดยมักไม่สนใจที่จะเปลี่ยนท่าทาง ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ อยู่ในท่าเดิมนานจนเกิด ปัญหาอาการปวดของข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทจากการทรงท่าที่อยู่นิ่งนานเกินไป (Prolonged Static Posture)
ทำอย่างไรจึงขับปลอดภัยและไม่ปวดหลัง
       วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องปรับ ที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่ แต่การปรับต้องคำนึงถึงการมองเห็นของผู้ขับขี่ด้วย ไม่ใช่ที่นั่งถูกหลักการยศาสตร์ แต่การมองเห็นไม่ดี


การปรับที่นั่ง
1. เริ่มด้วยการปรับที่นั่ง และพวงมาลัยให้ไปสู่จุดเริ่มต้นก่อน
2. หลังจากนั้นจึง ปรับพวงมาลัย ยกขึ้นให้สุด และดันไปด้านหน้าให้สุด
3. ปรับที่นั่งให้ต่ำที่สุด
4. ปรับที่นั่งให้ด้านหน้าเทลงไปให้สุด
5. ปรับพนักพิงให้เอียงไปทางด้านหลังประมาณ ๓๐ องศาจากแนวดิ่ง
6. ปรับส่วนรองรับหลัง (Lumbar Support) ไปทางด้านหลังให้มากที่สุด
7. ดันที่นั่งให้ไปด้านหลังให้สุด

ตามด้วยการปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่โดยมีขั้นตอนตามลำดับต่อไป นี้
1. ยกที่นั่งขึ้นจนมองเห็นได้รอบ
- ที่นั่งไม่ควรสูงเกินไปจนศีรษะชิดกับหลังคารถด้านใน
- ต้องแน่ใจว่ามองเห็นได้อย่างเต็มที่
2. เลื่อนเก้าอี้มาทางด้านหน้าจนเท้าสามารถควบคุมคันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้ สะดวก
- อาจปรับความสูงที่นั่งได้อีกเล็กน้อยเพื่อให้ใช้เท้าบังคับ คันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้ดีขึ้น
3. ปรับความลาดเอียงของที่นั่งจนต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด
- ต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากไป
4. ปรับพนักพิงให้พิงได้จนถึงระดับไหล่
- ไม่ควรเอนเก้าอี้ไปทางด้านหลังมากเกินไป เพราะทำให้ไม่ได้พิงหลัง เพราะการมองเห็นจะมีปัญหาถ้าเอนหลังไปพิงพนัก ผู้ขับขี่มักจะ อยู่ในท่าก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น
5. ปรับส่วนรองรับโค้งของหลังให้รู้สึกว่ามีแรงกดเท่ากันตลอดของหลังส่วน ล่าง
- ถ้าไม่มีส่วนนี้อาจใช้หมอนเล็กหนุนหลังส่วนล่างแทนได้
6. ปรับพวงมาลัยให้เข้ามาใกล้ตัว และดันลงให้อยู่ในระยะที่จับได้ สะดวก
- ต้องมีช่องว่างให้ยกขาท่อนบนได้บ้างขณะใช้เท้าบังคับรถ และขณะลุกออกจากที่นั่ง
- ตรวจดูว่าพวงมาลัยไม่บังหน้าปัด
7. ปรับพนักพิงศีรษะให้สูงเท่าระดับศีรษะ
- พนักพิงศีรษะมีจุดประสงค์หลักเพื่อไม่ให้คอสะบัดอย่างรุนแรง (Whiplash Injury) ขณะเกิดอุบัติเหตุ
ทำซ้ำลำดับ 1-7 อีกครั้ง ถ้า รถของท่านปรับไม่ได้ อย่างน้อยควรหาหมอนมาหนุนหลังส่วนล่าง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง
การพักและการบริหารร่างกายด
     ควรพักทุก 2 ชั่วโมง โดย การลุกออกจากที่นั่งมาบริหารร่างกายด้วยการยืนแอ่นหลัง 10 วินาที 2-3 ครั้ง และเดินไปมาประมาณ 5 นาที ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่นั่งเกิน 2 ชั่วโมง พยายามแอ่นหลังบ่อยๆ ในขณะนั่งขับรถ การขับรถใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ จึงควรออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่ง อย่างต่อเนื่องที่ทำให้เหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์
    การนั่งขับรถที่ถูกวิธีนั้นอาจ เป็นเพียงการช่วยให้คลายการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณหลังและส่วนอื่นที่ใช้งานขณะนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การ จอดพักเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย อย่าคิดว่าจะต้องขับยาวๆ ให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด โดยไม่จอดแวะพักเพราะกลัวว่าจะถึงช้า กว่าที่กำหนด หรือบางคนอาจชอบทำเวลาในการเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ให้น้อยที่สุดเพื่อจะได้เอาไปคุยว่า "ฉันขับไปจังหวัดนั้นใช้เวลาแค่นี้ เอง" แต่ผลกระทบนอกจากเรื่องการปวดเมื่อยแล้ว ร่างกายอาจเหนื่อยล้าเนื่องจากไม่ได้พักจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาได้นะครับ


 ข้อมูลจาก : www.Checkraka.com


คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

www.kcycar.com

www.facebook.com/kcyca

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น