ภาษายาง ภาษาปลอดภัย



             ยางเป็นหัวใจของความปลอดภัย ที่สำคัญที่สุดในรถยนต์ และเป็นชิ้นส่วน ที่ต้องได้รับการดูแล อย่างสม่ำเสมอ มีการเลือกใช้ อย่างถูกต้อง เนื่องจากยางเป็นเซฟตี้ พาร์ท ดังนั้นจึงมีมาตรฐาน และมีสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อเทคนิคเฉพาะตัว รวมถึง สื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบ ถึงข้อจำกัด ในการใช้งานต่างๆ และกรุงเทพธุรกิจยานยนต์ สัปดาห์นี้ นำเสนอรายงาน เรื่องยางเพื่อความเข้าใจเรื่องยาง อย่างละเอียด มาฝากท่านผู้อ่าน
สัญลักษณ์ การใช้ความเร็วสูงสุดของยาง Speed Symbol
Speed Symbol เป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ระบุถึงความเร็วใช้งานสูงสุดที่ยางเส้นนั้นรับได้ โดยสัมพันธ์กับความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก ที่ระบุไว้เป็นสัญลักษณ์ด้วยอักษรภาษาอังกฤษเช่นกัน

สัญลักษณ์ ความเร็ว (กม./ชม.)
L 120 130 140 150 160 170 180 190 200 210 เกินกว่า 210
V 240 270 300 เกินกว่า 240
ZR+ และตามด้วย Speed symbol อื่นหลัง ดัชนีรับน้ำหนัก (เช่น 245/40ZR17 86W) หมายความว่า ใช้ความเร็วสูงเกิน 240 km/h ได้ชั่วคราว แต่ไม่เกิน speed limit ของ speed symbol ที่ระบุตามหลัง เช่น กรณีนี้ W คือ 270 km/h

ดัชนีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Load Index)
เป็นสัญลักษณ์เป็นตัวเลขระบุถึงความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของยางเส้นนั้น ที่ความเร็วระบุไว้ตาม Speed symbol ของยาง

ความกว้างแก้มยาง
คือความกว้างของแก้มยางหน่วยเป็นมิลลิเมตร (มิใช่หน้ายางที่สัมผัสพื้นถนน) เมื่อยางนั้นใส่กับขนาดความกว้างของกระทะล้อที่แนะนำ เมื่อยางที่ใส่กับกระทะล้อที่กว้างขึ้น ตัวเลขจะมากขึ้น ถ้าใส่กับกระทะล้อที่แคบลงตัวจะน้อยลง โดยมีค่าประมาณ +/-มม.ต่อขนาดกระทะล้อ ที่เปลี่ยนแปลง +/-0.5 นิ้ว "ยางต่างรุ่น หรือยี่ห้อที่ระบุความกว้างของแก้มยางเท่ากัน อาจมีความกว้างหน้ายางส่วนสัมผัสถนนไม่เท่ากัน"

อัตราส่วนความสูงของยาง
อัตราส่วน % ความสูงของยางต่อความกว้างของแก้มยาง ในกรณีตัวอย่างนี้คือ 65% ของ 195 คือประมาณ 127 มม.ฉะนั้น เส้นผ่าศูนย์กลาง (ความสูงรวมของยาง) คือเส้นผ่าศูนย์กลางของกระทะล้อ (ในกรณีตัวอย่างนี้คือ 15" หรือ 381 มม.) บวกความสูงของยางทั้ง 2 ขอบของกระทะล้อเท่ากับประมาณ (354 มม.+381 มม.) = 635 มม.ฉะนั้น ทุกครั้งเมื่อต้องการเปลี่ยนขนาดยางและล้อ มาตรฐานที่ติดรถ ต้องให้ได้ค่าความสูง รวมของยางใกล้เคียงของเดิมให้มากที่สุด

วันผลิต
จะระบุอยู่บนแก้มยาง หรือหลังอักษร DOT (US.Department of Transporation) เป็นตัวเลข 4 หลัก
หลักแรก คือ เลข 2 ตัวท้ายของปีที่ผลิต เช่น 01 หมายถึงปี 2001
หลักสุดท้ายระบุถึงสัปดาห์ที่ผลิตในปีนั้น เช่น 05 หมายถึงสัปดาห์ที่ 5 ของปี 2001
0105 หมายถึง ยางที่ผลิตในสัปดาห์ที่ 5 ของปี 2001
ผู้ผลิตบางราย ไม่ระบุวันผลิตตามมาตรฐาน DOT แต่จะระบุโดยใช้สัญลักษณ์พิเศษ ซึ่งถือเป็นความลับของบริษัท แต่สามารถดูได้จาก stamp ระบุเดือนและปีผลิตบนแก้มยาง

UTQG code
ยางที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และมีขนาดล้อตั้งแต่ 13 นิ้ว ขึ้นไปต้องระบุสมรรถนะของยางใน 3 หัวข้อ คือ
1.TREADWEAR
2.TRACTION
3.TEMPERATURE
UTQG ย่อมาจาก "Uniform The Quality Gradingซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดย FMVSS (Federal Motor Vehicle Safety Standares) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

Treadwear
ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดการทนการสึกของดอกยาง โดยทำการทดสอบ ณ เส้นทางทดสอบของรัฐบาลในรัฐ TEXAS ยาวทั้งสิ้น 400 ไมล์ ภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุม โดยมี index มาตรฐานคือ 100 และเพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละ 20 ยางที่มี tread wear 200 หมายความว่าสึกช้าเป็น 2 เท่า ของยางที่มี tread wear index 100

Trakction
มี 3 ระดับ คือ A, B, C โดย A ถือว่าดีที่สุด เป็นการวัดความสามารถในการหยุดบนถนนเปียกทางตรง โดยทำการวัดขณะล้อเบรกจนล็อก บนสภาพพื้นผิวที่ถูกจัดทำโดยรัฐบาลบนถนนผิวคอนกรีต (concrete) และยาง asphalt การทดสอบนี้ไม่เกี่ยวกับการเกาะถนน หรือความสามารถในการเข้าโค้งของยางนั้นๆ

Temperature
มี 3 ระดับ คือ A, B, C โดย A ถือว่าดีที่สุด วัดความสามารถในการป้องกัน และการระบายความร้อนของยางทดสอบในห้องทดลอง บนล้อเทียม ยางทุกเส้นต้องผ่านมาตรฐานยางต่ำ C ค่า C คือผ่านการทดสอบที่ 137 กม./ชม.เป็นเวลา 30 นาที B 176 กม./ชม.และ A 208 กม./ชม.
ลมยางอ่อนคือศัตรูสำคัญที่สุดของยาง ทั้งในเรื่องอายุการใช้งานและความปลอดภัย นอกจากการออกแบบของยางแล้ว อายุการใช้งานของยางขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายชนิด โดยตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือ ลมยาง สภาพถนน และนิสัยการขับขี่ของผู้ขับขี่ โดยทั่วไปแล้วยางที่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะมีอายุการใช้งานได้หลายปี หลายหมื่นกิโลเมตร โดยยางประเภท sport high performance จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่ายางประเภทใช้งานทั่วไปเล็กน้อย ยางเรเดียลมีอายุการใช้งานนานกว่ายางใช้ยางใน และยางเรเดียลเสริมใยเหล็ก มีอายุการใช้งานนานกว่ายางเรเดียลผ้าใบ

Wear indicator
จะมีระบุอยู่บนยางทุกเส้น เมื่อดอกยางสึกลงมาถึงระดับ wear indicator นี้แล้ว ต้องเปลี่ยนยางทันที ถ้ายังไม่เปลี่ยนยางเมื่อสึกถึงระดับ wear indicator ในบางประเทศผู้ใช้รถถือว่าทำผิดกฎหมาย

สภาพถนน และนิสัยการขับขี่
นิสัยการขับขี่และการเลือกใช้เส้นทางของผู้ใช้รถ มีผลต่ออายุการใช้งานของยางเป็นอย่างมาก เช่น การออกล้อฟรีหรือการเบรก จนล้อล็อกยางลึกไปหลายกรัม ซึ่งเทียบกับการขับปกติได้หลายพันกิโลเมตร

การขับขี่ที่ความเร็วสูง ทำให้ยางสึกมากกว่าการใช้งานที่ความเร็วต่ำ
ยางที่วิ่งด้วยความเร็ว 110 กม./ชม.สึกมากกว่ายางที่วิ่งด้วยความเร็วตามกฎหมาย 90 กม./ชม.ถึงประมาณ 30% สภาพพื้นถนนมีผลต่อการสึกของยาง ถนนคอนกรีตสึกเร็วกว่าถนนลาดยางมะตอย ถนนลูกรังดินแดง ทำให้ยางสึกเร็ว กว่าถนนยางมะตอยเรียบถึง 1 เท่าตัว
ถนนที่มีสภาพร้อนทำให้ยางสึกหรอกว่าถนนที่เย็น จากการศึกษาของผู้ผลิตยางบางรายพบว่า ยางวิ่งที่อุณหภูมิอากาศ 40c ยางสึกเร็วกว่าที่อุณหภูมิ 30c ถึงกว่า 25%

การสลับยาง
การสลับยาง เป็นสิ่งจำเป็น การสลับยางช่วยให้ยางสึกสม่ำเสมอ ใกล้เคียงกันทุกเส้น ช่วยให้ยางแต่ละเส้นในรถคันนั้น มีอายุการใช้งานใกล้เคียงกัน การสลับยางควรทำตามระยะทางที่กำหนดในคู่มือรถ ถ้าไม่มีกำหนดควรทำทุก 5,000 กม.สำหรับรถใช้งานหนัก ขับขี่ความเร็วสูงหรือรถเก่าช่วงล่างไม่ดี หรือทุก 10,000 กม.สำหรับรถใช้งานทั่วไป การสลับยางครั้งแรกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และควรทำที่ 5,000 กม.แรก การสลับยางสำหรับรถที่ใช้ยางทั้งสี่ล้อขนาดเท่ากัน ทั้งยางที่ระบุทิศทางและไม่ระบุทิศทางการวิ่งสลับเป็นขึ้นลง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  14 กรกฎาคม 2546


ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook 
คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น