ประกาศให้เช่าป้ายโฆษณาสะพานพระราม 5



    ให้เช่าป้ายโฆษณาบิลบอร์ดขนาด 12 x 24 เมตร มี 2 หน้า
หน้าหนึ่งรับสายตาผู้คน จากสะพานพระราม 5 มุ่งหน้าไปแยกบางกรวย
(หน้านี้จะว่าง เดือน กุมภาพันธ์ 2558 ติดต่อเช่าไว้ล่วงหน้าได้ครับ)

อีกหน้าหนึ่ง รับสายตาผู้คนจากสะพานข้ามแยกบางกรวย มุ่งหน้าเข้าสะพานพระราม 5 ปัจจุบัน ขึ้นป้าย ก้องเจริญยนต์ อยู่ครับ หน้านี้ สามารถเช่าได้ทันที ค่าเช่าต่อเดือนๆ ละ 90,000 บาท ยืดหยุ่นได้ตามระยะเวลาเช่า

ไม่ว่ากิจการใดๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนี่ยม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ งานประชาสัมพันธ์จังหวัด สามารถเช่าใช้ป้ายของเราได้ครับ
สถานที่ตั้งป้าย ทำเลดี มีรถผ่านเข้าเมืองช่วงเช้า ติดยาว รับรองว่าลงโฆษณากับป้ายของเรา ได้ผลดีแน่นอนครับ ขาออกเมืองช่วงเย็นๆก็รถเยอะ แถมยังใกล้กับห้างโลตัส มีคนสัญจรผ่านไปมามากมาย ลงโฆษณาคุ้มค่า ดีกว่าไปติดป้ายตามเสาไฟฟ้าระเกะระกะ สร้างความไม่สะอาดตาให้เมืองอีกต่างหาก
ท่านใดสนใจเช่าป้ายโฆษณา ติดต่อได้โดยตรงที่คุณก้อง 081-843-8999 Line: kcycar


10 สัญญาณบอกเหตุเบรกมีปัญหา




 “เบรก” มีปัญหา หลายคนอาจมีความเชื่อเรื่องจิตสัมผัสลางบอกเหตุ หรือลางสังหรณ์ เวลาที่จะมีภัยหรือมีเรื่องร้ายเข้ามาใกล้ตัว บ้างก็บอกว่ารู้สึกแล้วต้องรีบแก้เคล็ด ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ แต่เรื่องที่เราจะคุยกันในวันนี้ ถ้าพูดแบบภาษาที่พวกช่างชอบใช้กันก็คือ ถ้าคุณสังเกตหรือเจออาการตามที่บอกมา แล้วไม่รีบแก้ไขล่ะก็ ภัยมาถึงตัวคุณแน่ ๆ

          1. เบรกดัง
          อาการ : มีเสียงดังขณะเบรกให้สังเกตว่าดังมาจากจุดใด ดังทุกล้อ หรือแค่ล้อใดล้อหนึ่ง ถ้าดังเป็นคู่ เช่น คู่หน้าหรือหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากผ้าเบรกและจานเบรกที่อาจจะหมดแล้วเสียดสีกัน

          แต่ถ้าดังบางจุด อาจเกิดจากมีฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดสีระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก จึงควรตรวจสอบและแก้ไข บางกรณีก็อาจเกิดจาการใช้ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทางที่ดีควรเลือกใช้ผ้าเบรกจากโรงงานหรือยี่ห้อที่มีมาตรฐานเท่านั้น

          2. เบรกสั่น
          อาการ : เหยียบเบรกเบา ๆ แล้วแป้นเบรกสั่นขึ้น-ลง ระยะเริ่มแรกจะส่งอาการมาเบา ๆ ที่แป้นเบรก แต่ถ้าเยอะมาก ๆ อาจรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หากปล่อยไว้ถึงชั้นรุนแรงอาจสั่นสะท้านไปทั้งคัน สาเหตุเกิดจากจานเบรกคดบิดตัว สึกหรอไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อใช้งานอย่างรุนแรงเกินไป หรือจานเบรกไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุอื่น ๆ เช่น เบรกความร้อนสูงแล้วลุยน้ำ อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสก์เบรกและดรัมเบรก ควรไปตรวจเช็คและเจียรจานเบรก


 3. เบรกทื่อ
          อาการ : เหยียบเบรกแล้วรู้สึกไม่ค่อยอยู่ จะรู้สึกเบรกแข็ง ๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากกว่าปกติ อาการเบรกตื้อ ๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หม้อลมเบรกเริ่มรั่วซึมจากชุดผ้าใบภายในหรือวาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย ทำให้แรงสุญญากาศของหม้อลมน้อย สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล อาจเป็นที่ปั๊มสุญญากาศที่บริเวณตูดไดชาร์จเสียรวมทั้งสายลมรั่ว เป็นต้น ควรรีบแก้ไขโดยด่วน

          4. เบรกจม

          อาการ : เหยียบเบรกแล้วแป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปกติ หากเหยียบค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อย ๆ จมลง ๆ นั่นเป็นอาการของเบรกจมบ้างก็เรียกเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดจากลูกยางแม่ปั๊มเบรกตัวบนสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือทำให้ต้องย้ำเบรก ควรรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะสิ่งที่จะตามมาคือเบรกแตก!!!

          5. เบรกแตก

          อาการ : เหยียบเบรกแล้วแป้นจมเบรกไม่ทำงาน มีหลายสัญญาณที่จะเตือนผู้ใช้ก่อนเกิดอาการเบรกแตก หากละเลยใช้งานจนเกิดปัญหาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการเมื่อกดแป้นเบรกจนสุดถึงพื้นรถ หรือนุ่มหยุ่น ๆ ก่อนแล้วจมลงติดพื้น แต่รถยังคงไม่ลดความเร็ว เหมือนไม่มีเบรก สาเหตุอาจมาจากการรั่วของน้ำมันเบรก ท่อทางระบบเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั๊มเบรก และตัวแม่ปั๊มเบรกเสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด หรืออาจเกิดจากชิ้นส่วนของระบบเบรกหลุดหลวม หรือเกิดจากสายอ่อนเบรกแตกการลดความเร็วอย่างปลอดภัยขึ้นอยู่กับความเร็วของรถและเส้นทางขณะที่เกิดเหตุ การค่อย ๆ ลดตำแหน่งเกียร์ควบคู่ไปกับการค่อย ๆ ดึงเบรกมือ (ที่เป็นเบรกมือแบบสาย แบบไฟฟ้าห้ามใช้) จะช่วยลดความเร็วลงได้



 6. เบรกติด
          อาการ : ปล่อยเบรกแล้ว แต่ยังมีแรงเบรกทำงานอยู่ อาการนี้เบรกจะทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่ทันได้เหยียบเบรก รถจะตื้อ ๆ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ จอดแล้ว เข็นรถยาก หรือไม่ได้เลย เป็นอาการของเบรกติด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั๊มเบรกฉีกขาด ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรกจนเกิดสนิท ติดขัดลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้า-ออกได้ รวมถึงปัญหาซีนยางบวมผิดรูป ทำให้ลูกสูบที่คาลิปเปอร์เบรกไม่เลื่อนกลับ

          7. เบรกปัด

          อาการ : เบรกแล้วรถปัดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หากเบรกแล้วรถมีอาการปัดเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าจุดที่คุณจะต้องตรวจสอบระบบเบรกอยู่ทางด้านขวา ซึ่งอาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของชุดช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรก ทำให้ผิวลื่นมัน ความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรกที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน

          8. เบรกเฟด
          อาการ : เบรกแล้วลื่น เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูงในเส้นทางขึ้นลงเขา อาจทำให้เราใช้เบรกต่อเนื่องมากเกินไป หรือในช่วงที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็ปกติ แต่พอแตะเบรกอีกหลาย ๆ ที่กลับเกิดอาการลื่นเบรกไม่ตอบสนองซึ่งอันตรายมาก สาเหตุเกิดจากความร้อนของจานเบรกกับผ้าเบรดที่สูงเกินไป มาจากการใช้งานหนักเกินไป อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่งที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อย ๆ ติดต่อกันและมักเกิดกับรถที่ขับด้วยความเร็วสูง หากเคยมีอาการก็ควรปรับใช้ผ้าเบรกที่คุณภาพสูงขึ้นและน้ำมันเบรกที่มีค่า DOT สูงขึ้นกว่าเดิม



9. เบรกหมด

          อาการ : เบรกแล้วเกิดเสียงดังเหมือนเหล็กเสียดสีกัน หากเริ่มได้ยินเสียงเหมือนเหล็กเสียสีกัน และเบรกมีอาการลื่น ๆ นี่คืออาการของผ้าเบรกหมด จนโลหะของแผ่นผ้าเบรกสีกับจานเบรก ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ผ้าเบรกสีกับจานเบรกจนเสียหาย เผลอ ๆ อาจต้องเสียเงินเปลี่ยนจานเบรกใหม่อีกด้วย

          10. เบรกสะท้าน
          าการ : เบรกกะทันหันแล้วเกิดเสียงดังกระพือ แป้นเบรกสั่นสะท้าน ถ้าเคยเจอกับอาการนี้ แต่ไม่ได้เป็นทุกครั้ง เจอแค่ตอนเบรกอย่างเต็มที่ และถ้ารถของคุณมีระบบเบรก ABS ก็ไม่ต้องตกใจ นั่นคืออาการจากการทำงานของชุดปั๊ม ABS ซึ่งจะเข้ามารับหน้าที่สร้างแรงเบรก 15-17 ครั้ง ต่อวินาทีแทนคุณทันที...ที่คุณเบรกแบบฉุกเฉินจนล้อล็อค นั่นก็เพื่อให้คุณสามารถควบคุมทิศทางรถขณะเบรกกะทันหันอย่างเต็มที่ได้ ซึ่งเป็นอาการปกติเมือ่ระบบ ABS ทำงาน



ที่มา : kapook
คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

www.kcycar.com


www.facebook.com/kcyca


แบตเตอรี่เสื่อม กับอาการรวนของรถที่คาดไม่ถึง



เรื่องแปลกของรถเสีย (ยานยนต์)

          การที่รถเกิดรวนหรือเสียขึ้นมานั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ พวกชิ้นส่วนอุปกรณ์เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ย่อมมีการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายตามอายุการใช้งานเป็นธรรมดา ซึ่งเมื่อรถเสียก็ต้องมีการแก้ไข ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นที่เสีย แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าอะไรเสีย บางครั้งเปลี่ยนอะไหล่ไปตั้งหลายอย่างแล้วอาการยังไม่หายซักที ขาดแต่เปลี่ยนช่างเปลี่ยนอู่เท่านั้นเอง และมีบางรายการที่สาเหตุการเสียนั้นเกิดจากตัวที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นต้นเหตุ ชนิดหากไม่ได้เจอเข้ากับตัวเองก็เชื่อไม่ลงเหมือนกัน

          คืนก่อนในวงสังสรรค์หลังเลิกงานก่อนกลับบ้าน พวกเราก็นั่งจับกลุ่มสังสรรค์หลังเลิกงานตามปกติ ซึ่งก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเหล่าพนักงานเป็นอย่างดี เพราะช่วงนั้นลูกค้าหายหน้าหายตาไปเยอะ พวกวิวนอกไม่ต้องพูดถึง เจอเหตุการณ์บ้านเมืองเราก็กระเจิงหายหน้าหายตาไปหมด กระทั่งวิวพื้นเมืองยังหาดูยาก คงหลงเหลือแต่พวกเราที่ยังไปใช้บริการกันเป็นปกติ


          เรื่องที่พูดคุยกันในตอนแรกที่หนีไม่พ้นเรื่องของหญิง อันเป็นเรื่องปกติของกลุ่มผู้ชาย พอเริ่มหมดเรื่องคุยก็หันมาคุยเรื่องรถรุ่นใหม่ ซึ่งช่วงปลายปีมีรถใหม่ ๆ ออกมาหลายรุ่น ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์กันไปตามเรื่อง ซึ่งในระหว่างพูดคุยกันอย่างออกรสชาตินั้น ได้สังเกตเห็นพรรคพวกร่วมวงคนหนึ่งท่าทางซึม ๆ เหมือนกำลังคิดอะไรอยู่ ก็เลยแซวไปว่าสงสัยกำลังคิดถึงทางบ้าน กลัวถูกทำโทษฐานกลับบ้านดึกหรือไง เพื่อนคนนั้นก็ส่ายหน้าแล้วบอกว่ากำลังคิดถึงเรื่องรถตนเอง เพราะรู้สึกว่าจะมีปัญหาเยอะ กำลังคิดอยู่ว่าจะซ่อมเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ หรือจะขายทิ้งแล้วออกรถรุ่นใหม่ดี

          รถของเพื่อนคันนี้เท่าที่สอบถามดูมีปัญหาหลายอย่างประการแรกสตาร์ทเครื่องติดลำบากโดยเฉพาะตอนเช้า ๆ หรือตอนที่จอดรถทิ้งเอาไว้นาน ๆ สตาร์ทแต่ละทีเหมือนจะขาดใจ นอกจากนี้แผงมาตรวัดตอนสตาร์ทก็จะมีเสียงดังก็อกแก็กเหมือนไฟช็อต พร้อมกับมีไฟเตือนขึ้นวูบวาบจนกว่าเครื่องยนต์จะติด พวกเสียงที่ดังถึงจะเงียบลงและไฟเตือนต่าง ๆ ก็จะดับเป็นปกติ เสียงเครื่องยนต์ก็รู้สึกว่าดังกว่าที่เคย ตอนอยู่ในรถอาจจะไม่รู้สึกเท่าไหร่นัก แต่ตอนที่เพื่อนจอดรถไว้หน้าบ้านแล้วลงจากรถมาเปิดประตูรั้วจะพบว่าเสียงเครื่องยนต์รอบเดินเบากระหึ่มดังมาก อีกทั้งการทำงานของแอร์ก็มีปัญหาบางจังหวะก็เย็นเป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเย็นเท่าที่ควร


 เจ้าเพื่อนได้นำรถเข้าอู่ไปเจอช่างแล้วเล่าอาการให้ช่างฟัง ช่างบอกว่าสำหรับอาการสตาร์ทติดยาก สาเหตุมีเยอะ อาจเป็นที่มอเตอร์สตาร์ทไม่ดีแล้ว หรือเป็นที่ระบบจ่ายน้ำมันบกพร่อง เช่น ไส้กรองเบ็นซินอุดตัน ปั๊มแรงดันสูงเสื่อม ผ้าปั๊มของเร็กกูเลเตอร์ยืดแล้วก็เป็นได้ ส่วนเสียงดังที่แผงมาตรวัด คิดว่าคงจะเป็นที่เกิดช็อตหรือชำรุดเสื่อสภาพ คงจะต้องเปลี่ยนชุดแผงมาตรวัด หากเป็นของใหม่ราคาประมาณสองหมื่นกว่า หรือเปลี่ยนใช้ของเก่าราคาอยู่แถวแปดพันบาท ส่วนเสียงดังของเครื่องยนต์ น่าจะเป็นเสียงของวาล์วมากกว่า แต่ถ้าไม่ใช่ก็ต้องว่ากันยาว เพราะอาจเป็นพวกชาฟท์สึกหรอ ซึ่งต้องรื้อเครื่องออกมาตรวจเช็กกันอีกที สำหรับอาการแอร์ เดี๋ยวเย็นเดี๋ยวไม่เย็น น่าจะเกิดขึ้นจากตัวเทอร์โมสตัท ถ้าเปลี่ยนใหม่ก็หมื่นนิดหน่อย หรืออาจจะเป็นที่คอมเพรสเชอร์แอร์เสีย ซึ่งประการหลังค่าเปลี่ยนคอมเพรสเชอร์ลูกใหม่จะอยู่ที่สองหมื่นกว่า

          พอดีกับรถที่อู่มีรถรอคิวซ่อมอยู่เยอะ ช่างจึงบอกให้อีกสองวันค่อยเอารถเข้ามาทำ ถ้าเอารถเข้าซ่อมวันนั้นก็เท่ากับจอดเอาไว้เฉย ๆ เพราะไม่มีเวลาที่จะซ่อมให้ เพื่อนเลยต้องเอารถกลับมาก่อน แล้วมานั่งซึมอยู่นี่แหละ เพราะค่าซ่อมรถเท่าที่เพื่อนประเมินคร่าว ๆ ก็หลายหมื่นเลยทีเดียว ทำให้เพื่อนตัดสินใจว่าจะซ่อมรถเก่า หรือขายทิ้งแล้วซื้อรถใหม่มาใช้ดีกว่า

          ฟังเพื่อนเล่าก็รู้สึกเห็นใจ เพราะ "ไอ้ตัวดูด" ก็เคยทำเรื่องทำนองนี้มาแล้ว อาศัยพอซ่อมเองก็เลยประหยัดตังค์ได้มากหน่อย จึงนัดแนะเพื่อนว่าวันหยุดสุดสัปดาห์นี้จะช่วยดูรถให้ คิดว่าค่าใช้จ่ายน่าจะเบากว่าเอารถเข้าอู่ซ่อมเยอะ โดยซื้ออะไหล่เองและทำเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

          เมื่อถึงวันเวลาที่นัดแนะกับเพื่อนเอาไว้ พวกก็ขับรถเข้ามาจอดในบ้าน และงานนี้เพื่อนไม่ได้มาเพียงลำพัง แต่มีผองเพื่อนติดรถมาอีก 3-4 คน เพราะเท่าที่คิดกันเอาไว้วันนี้คงต้องใช้เวลากันทั้งวันสำหรับซ่อมรถ เนื่องจากมีหลายอาการ ก็เลยนัดแนะเอาของมาทำกินกันระหว่างที่ซ่อมรถเป็นการให้กำลังใจ ซึ่งเรื่องข้าวปลา อาหาร เจ้าเพื่อนพวกนี้จัดการเสร็จสรรพ โดยปล่อยให้ซ่อมรถไปตามสบาย
          ตามที่ตั้งใจเอาไว้ว่าสิ่งแรกที่ลงมือจัดการ ก็ว่าจะสะสางปัญหาเรื่องสตาร์ทยากก่อน เพราะดูแล้วสาเหตุมีเยอะอาจต้องใช้เวลาในการไล่หาตัวการนานหน่อย เมื่อจัดการเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะจัดการเรื่องเสียงดังของแผงมาตรวัด ถ้ามีเวลาเหลือพอ ก็จะดูเรื่องเสียเครื่องยนต์ดัง ส่วนเรื่องแอร์อาจจะต้องเก็บเอาไว้ก่อน



จากการตรวจเช็คในตอนแรกพบว่าอาการสตาร์ทเครื่องติดยากนั้น เป็นเพราะมอเตอร์สตาร์ทหมุนช้ากว่าปกติ คล้ายกับว่าไฟแบตเตอรี่ไม่ค่อยพอ หรือมอเตอร์สตาร์ทสกปรก บู๊ชสึก ทำให้หมุนไม่ค่อยสะดวก ก็เลยลองง่าย ๆ โดยการเปิดไฟหน้าแล้วบีบแตร พบว่าเสียงแตรยังดังอยู่แต่ไม่กังวานเท่าที่ควร และเมื่อลองสตาร์ทเครื่องยนต์พร้อมเปิดไฟหน้า ก็พบว่ามอเตอร์สตาร์ทหมุนช้าลงชนิดที่สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจนแบบนี้แสดงว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่ไฟแบตเตอรี่ไม่ค่อยพอมากกว่า เพื่อความแน่ใจก็เลยขับ "ไอ้ตัวดูด" มาจอดใกล้ ๆ แล้วพ่วงแบตเตอรี่ลองสตาร์ทดู หากพ่วงแล้วพบว่ามอเตอร์สตาร์ทหมุนเร็ว เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย ก็น่าจะเป็นที่แบตเตอรี่เสื่อมสภาพไฟไม่ค่อยพอ แต่ถ้าพ่วงแล้วมอเตอร์สตาร์ทยังหมุนช้า หรือเร็วขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย แสดงว่าปัญหาอยู่ที่ตัวมอเตอร์สตาร์ท

          ซึ่งผลจากการพ่วงแบตเตอรี่พบว่ามอเตอร์สตาร์ทหมุนเร็ว เครื่องยนต์ติดง่าย แบบนี้แสดงว่าปัญหาเกิดจากแบตเตอรี่แน่นอน


          นอกจากนี้ในตอนแรกที่ทดลองสตาร์ทเครื่อง พบว่าตอนบิดกุญแจจะมีเสียงดังแต็ก แต็ก มาจากแผงมาตรวัด เหมือนพวงดีเลย์หรือคัดเอ้าท์ทำงาน แต่เสียงรัวมากไปหน่อย และมีไฟเตือนขึ้นวูบวาบ พร้อมกับเข็มวัดรอบขยับขึ้นขยับลง โดยที่เครื่องยนต์ยังไม่หมุนเลย แค่บิดกุญแจเฉย ๆ เท่านั้นเอง

          งานนี้เข้าใจว่าเพื่อนคงลืมเติมน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ทำให้ไดชาร์จ ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้น้อย ไฟเลยไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก พลังไฟไม่ค่อยจะเพียงพอต่อการใช้งาน ก็เลยเปิดฝาช่องเติมแบตเตอรี่เพื่อจะเติมน้ำกลั่นให้เต็มแล้วติดเครื่องเพื่อชาร์จไฟซักพักก็คงจะเรียบร้อย สามารถจัดการกับปัญหาเครื่องสตาร์ทยากได้ แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะเมื่อเปิดจุกปิดช่องเติมน้ำกลั่นที่แบตเตอรี่ออก ก็พบว่ามีน้ำกลั่นเต็มทุกช่อง แบบนี้แสดงว่าน่าจะเป็นที่แบตเตอรี่เสื่อมและหมดอายุการใช้งานแล้วทำให้เก็บไฟไม่อยู่ พอจอดทิ้งไว้นาน ๆ หรือจอดค้างคืนไฟก็ลดลง ทำให้มอเตอร์สตาร์ทหมุนช้าเลยสตาร์ทติดยาก



จึงบอกกับเพื่อนที่เป็นเจ้าของรถว่า แบตเตอรี่แย่แล้วทำให้สตาร์ทหยาก และต้องเปลี่ยนใหม่เพราะการซ่อมต้องมีการสตาร์ทเครื่องแล้วใช้ไฟเยอะ หากรถสตาร์ทยากต้องคอยพ่วงไฟจะทำให้ยุ่งยาก ไหน ๆ ก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดีก็เปลี่ยนไปเลยดีกว่า ตอนนี้จะเอารถไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ร้านเดี๋ยวกลับมา ให้เพื่อนอยู่กับพรรคพวกไปก่อน

          เมื่อถึงร้านขายแบตเตอรี่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่ ทางร้านก็ถามว่าจะเอาแบตเตอรี่แบบน้ำหรือแบบแห้ง ถามยังกับสั่งก๋วยเตี๋ยวแน่ะ ซึ่งอันที่จริงมันก็เป็นแบตเตอรี่น้ำทั้งคู่นั่นแหละ เพียงแต่แบตเตอรี่น้ำมันก็คือแบตเตอรี่ธรรมดาที่นิยมใช้กันมานาน เพียงแต่ต้องเติมน้ำกลั่นกันบ่อยหน่อย ส่วนแบตเตอรี่แห้งก็คือแบตเตอรี่น้ำนี่แหละ เพียงแต่ฝาปิดช่องเติมน้ำกรดไม่ได้เจาะรูเอาไว้ เมื่อแบตเตอรี่มีการชาร์จไฟเกิดความร้อน น้ำกลั่นก็ระเหยเป็นไอแต่ออกไม่ได้ ต้องค้างอยู่ในช่องเติมน้ำกลั่นของแบตเตอรี่นั่นเอง พอดับเครื่องยนต์ไม่มีการชาร์จไฟไอน้ำเย็นตัวลง ก็จะกลั่นตัวกลายเป็นน้ำกลับมารวมกับน้ำกลั่นเหมือนเดิม วนเวียนอยู่อย่างนี้ จึงแทบไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเพิ่ม

          อันที่จริงแบตเตอรี่ที่น้ำกลั่นวนเวียนแบบนี้ หรือที่จริงควรจะเรียกว่าแบตเตอรี่ระบบปิด เคยมีขายในบ้านเราเมื่อนานมาแล้ว แต่มีปัญหาใช้ไม่ทน ส่วนใหญ่ใช้ได้ไม่ถึงปีก็กลับบ้านแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะบ้านเราอากาศร้อน รถติด ใช้แอร์เยอะ กลางคืนก็ใช้ไฟหน้านาน ไดชาร์จต้องชาร์จไฟกันเยอะ และแบตเตอรี่สมัยนั้นรับประกัน 1 ปี ไม่เหมือนแบตเตอรี่ปัจจุบันที่รับประกันแค่ 6 เดือน ก็เลยเกิดมีการเคลมกันบ่อย จนทำให้บริษัทขายแบตเตอรี่ซักจะขาดทุน ก็เลยเลิกเอาแบตเตอรี่แบบนี้เข้ามาขาย

          ต่อมาพวกรถมีระบบอิเล็คทรอนิกส์เยอะ อุปกรณ์ก็แยะ หรือหันมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า แถมยังมีการบาลานซ์น้ำหนักด้านหน้ากับด้านหลัง หากเอาแบตเตอรี่ไว้ในท้องเครื่อง ก็กลัวมีปัญหาเรื่องไอแบตเตอรี่ ทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เสียหาย อีกทั้งห้องเครื่องก็แน่นไปหมด หาที่อยู่ของแบตเตอรี่ลำบาก นอกจากนี้น้ำหนักของแบตเตอรี่ที่อยู่หน้ารถ ก็ทำให้รถหนักหน้าจนเกินไป ก็เลยมีการย้ายแบตเตอรี่ไปไว้ในรถ อย่างเช่นได้พื้นวางเท้าคนขับ บางคันก็อยู่ฟากผู้โดยสาร และที่เก็บไว้ใต้เบาะหลังแบบรถโฟล์คเต่ารุ่นเก่า ๆ ก็มี หรือไว้ที่ผนังด้านข้างในห้องเก็บของท้ายรถ เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักทำให้รถมีการทรงตัวดีขึ้น คราวนี้เมื่อแบตเตอรี่ไปอยู่ในรถ หรือห้องเก็บของท้ายรถ เค้าก็กลัวว่าจะมีปัญหาในเรื่องของการบำรุงรักษา เพราะเข้าถึงยากไม่ง่ายแบบเก็บแบตเตอรี่ไว้ในห้องเครื่อง อีกทั้งยังอาจมีปัญหาเรื่องไอน้ำกลั่นจากแบตเตอรี่ ไปสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้เคียง หรือเกิดเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ในห้องโดยสาร ก็เลยมีการใช้แบตเตอรี่ระบบปิดนี้แทน หรือที่เค้านิยมเรียกว่าแบบ Maintenance Free คราวนี้จะเก็บไว้ในจุดลี้ลับก็ไม่เป็นปัญหา เพราะรถบางยี่ห้อเก็บเอาไว้ซะลึกลับ จนกระทั่งเจ้าของรถยังไม่รู้เลยว่ารถตัวเองนั้นมีแบตเตอรี่ใช้งานสองลูก มารู้ก็ตอนเอแบตเตอรี่เสียแล้วทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ได้



งานนี้ได้ตัดสินใจเลือกแบตเตอรี่แห้งให้เพื่อน ไม่ใช่ว่ามันดี หรือน่าสนใจกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ ถ้าพูดถึงความทนทานในการใช้งานยังไงแบตเตอรี่เติมน้ำกลั่นธรรมดาที่ใช้กันมานาน ก็ย่อมทนทานมีอายุการใช้งานนานกว่า แถมยังมีราคาถูกกว่าอีกหลายร้อยบาท เพียงแต่ต้องคอยดูแลเติมน้ำกลั่นกันบ่อยหน่อยเท่านั้นเอง สำหรับเหตุที่เลือกให้ช่างเปลี่ยนเอาแบตเตอรี่แบบแห้งหรือแบบระบบปิดนั้น เป็นเพราะการเปลี่ยนจะสะดวกและเร็วกว่าเท่านั้นเอง เนื่องจากพวกแบตเตอรี่น้ำแบบดั้งเดิมนั้น ถ้าจะให้ดีจริง ๆ มีอายุการใช้งานยืนยาว ต้องเติมน้ำกรดทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมงก่อน เพื่อให้แผ่นธาตุ (ตะกั่ว) ชุ่มน้ำยา และให้เกิดไฟฟ้าขึ้นตามปฏิกิริยาของตะกั่วกับกรด ต่อจากนั้นก็ชาร์จช้า ๆ ประมาณ 2-4 แอมป์เท่านั้น เพื่อไม่ให้แผ่นธาตุงอเพราะความร้อนจากการใช้แอมป์สูงในการชาร์จไฟ ส่วนพวกแบตเตอรี่แห้งหรือระบบปิดนี้ เพียงแค่เติมน้ำกรดลงไปก็เริ่มมีไฟเกิดขึ้นแล้ว รอเพียงครู่ใหญ่ ๆ ก็สามารถใช้งานได้

          ส่วนตอนเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็มีวิธีการเล็กน้อย โดยการสตาร์ทเครื่องยนต์เอาไว้ จัดการถอดแบตเตอรี่ออกเปลี่ยน ทั้ง ๆ ที่เครื่องยนต์ยังทำงานอยู่อย่างนั้นแหละ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ระบบไฟขาดตอน ไม่งั้นพวกข้อมูลต่าง ๆ จะลบหมด ทั้งนาฬิกา สถานวิทยุที่เมโมรี่เอาไว้ โดยเฉพาะพวกวิทยุที่มีรหัสกันขโมยก็จะไม่ทำงาน ต้องป้อนรหัสกันใหม่ ใครลืมหรือมมีรหัสก็วุ่นวาย ดังนั้นใช้วิธีเลี้ยงไฟหรือติดเครื่องเปลี่ยนแบตเตอรี่ดีกว่า อาจจะมากเรื่องเพิ่มขึ้นอีกนิด แต่ไม่ต้องมาวุ่นวายกันภายหลัง

          หลังจากเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่โดยจ่ายตังค์ไปสองพันกว่าบาท สิ่งที่พบนอกจากสตาร์ทเครื่องยนต์ง่ายขึ้นแล้ว ยังพบอีกว่าอาการไฟเตือนบนแผงมาตรวัดติด ๆ ดับ ๆ พร้อมกับเสียงแต๊ก ๆ นั้นหายไปแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร เพราะเคยเจอรถที่สตาร์ทไม่ได้แล้ว ไฟเตือนบนแผงหน้าปัดขึ้นวิบวับแบบนี้แหละ พอเปลี่ยนแบตเตอรี่ ลูกใหม่ก็หาย คล้ายว่าเป็นการบ่งบอกให้ทราบว่าระบบกำลังไฟมีปัญหาทำให้ไฟมาจ่ายยังอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งระบบอิเล็คทรอนิกส์ ไม่เพียงพอต่อการทำงาน

          พอเปลี่ยนแบตเตอรี่เสร็จเรียบร้อย ก็รีบควบรถเพื่อนกลับบ้านทันที ขืนช้าเดี๋ยว "วุ้น" และพวกกับแกล้ม จะถูกเหล่าบรรดาพรรคพวกฟาดเรียบซะก่อน

          เมื่อขับรถกลับมาถึงบ้าน ก็บอกกับเพื่อนว่าซ่อมรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่าซ่อมทั้งหมดสองพันกว่าบาทเจ้าเพื่อก็เลยยืนงง บอกว่ารถของเค้าไม่ได้เสียเรื่องสตาร์ทอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีปัญหาเรื่องแผงไฟมาตรวัด เสียงเครื่องดังกว่าปกติ กับมีปัญหาเรื่องแอร์เย็นมั่งไม่เย็นมั่งอีกด้วย ก็บอกเพื่อนไปว่านั่นแหละทั้งหมดซ่อมเรียบร้อยแล้ว หากไม่เชื่อก็ลองตรวจเช็คดูก็ได้ พูดจบ ก็เดินไปหา "วุ้น" จิบ ปล่อยให้เพื่อนเดินไปที่รถ

          ขณะที่กำลังละเอียด "วุ้น" อยู่นั้น เจ้าเพื่อนก็เดินหน้าตาตื่นเข้ามาหา แล้วบอกว่าอาการต่าง ๆ ของรถเป็นปกติดีแล้วจริง ๆ ด้วย คิดว่างานนี้ คงหมดค่าซ่อมหลายหมื่น ที่ไหนได้แค่สองพันกว่าบาทเอง อยากรู้ว่าแอบเอารถไปซ่อมที่ไหนมา


จึงอธิบายให้เพื่อนฟังว่าอาการทั้งหมดที่เป็นอยู่นี้ เกิดจากสาเหตุของแบตเตอรี่เสื่อมเพียงประการเดียวเท่านั้นเอง อย่างรถบางรุ่นหากมีปัญหาเรื่องไฟ แผงหน้าปัดก็จะมีปัญหาไฟวิบวับแบบนี้ ส่วนเสียงเครื่องดังกว่าปกติเป็นเพราะเครื่องยนต์ทำงานมากขึ้น แต่รอบเครื่องจะใกล้เคียงของเดิมทำให้เราไม่รู้ ซึ่งเป็นเพราะแบตเตอรี่เสื่อมเก็บไฟไม่อยู่ ทำให้ไดชาร์จต้องคอยชาร์จไฟตลอดเวลา อันที่จริงรอบเครื่องในช่วงเดินเบาก็เพิ่มขึ้น แต่โดยโหลดของไดชาร์จดึงเอาไว้ ทำให้เราเห็นว่ารอบเครื่องไม่สูงเท่าไหร่ เมื่อเครื่องยนต์มีโหลดทำงานหนัก ก็ย่อมมีเสียงดังเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ส่วนแอร์ก็เช่นกันเมื่อพลังไฟไม่ค่อยพอโดยเฉพาะตอนกลางคืนที่ใช้ไฟหน้าด้วย ทำให้คลัทช์แม่เหล็กของคลัทช์แอร์ไม่จับตัว แอร์ก็เลยไม่ค่อยจะเย็น หรือเย็นมั่งไม่เย็นมั่ง ตามแต่พลังของไฟที่มี

          วันนั้นก็กลายเป็นปาร์ตี้ใหญ่ไป เพราะเพื่อนไม่ต้องควักกระเป๋าซ่อมรถเป็นหมื่น ๆ อย่างที่คิดเอาไว้ในตอนแรก ก็เลยซื้ออาหารมาเลี้ยงฉลองกัน ส่วนหลังจากเลิกฉลองแล้ว ถูกเจ้าเพื่อนพาไปเที่ยวไหนต่อไม่บอก รู้แต่ว่าหายเมื่อยไปเยอะเลย...??!!



ที่มา : kapook
คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

www.kcycar.com


www.facebook.com/kcyca

Honda อาจพัฒนา MPV เล็กกว่า Mobilio





          เพิ่มทางเลือกความอเนกประสงค์ Honda เตรียมพัฒนารถ MPV ขนาดเล็กกว่า Mobilio ให้ใช้งานกัน

          หลังจากที่ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นได้เปิดตัวรถอเนกประสงค์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่างฮอนด้า โมบิลิโอ (Honda Moblilio) เป็นที่เรียบร้อยแล้วในเอเชีย ซึ่งก็ได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้น ฮอนด้าก็ต้องการคว้าชัยอย่างเด็ดขาดในตลาดรถอเนกประสงค์ จึงได้คิดแนวทางการพัฒนารถยนต์แบบใหม่ขึ้นมาซึ่งน่าสนใจไม่น้อย

          ฮอนด้าเล็งเห็นถึงการเติบโตของตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งกำลังมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมุ่งไปที่รถยนต์อเนกประสงค์ขนาดเล็กซึ่งนำทัพโดย
ดัตสัน โก+ (Datsun GO+) ที่มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อและประสบความสำเร็จในกลุ่มของมันไม่น้อย ทำให้ฮอนด้าวางแผนที่จะเข้าร่วมตลาดรถ MPV ขนาดเล็กนี้อย่างไม่ลังเล

          จอนฟิส ฟานดี้ หัวหน้าฝ่ายการตลาดและบริการหลังการขายของฮอนด้า โปรสเปค มอเตอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เผยว่า พวกเขากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในตลาดรถ MPV ขนาดเล็ก โดยเฉพาะความสำเร็จของดัตสัน โก+ ซึ่งน่าสนใจมากทีเดียว นั่นทำให้มีแนวโน้มว่าฮอนด้าส่งรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ให้เราได้เห็นกันในเร็ว ๆ นี้

          อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ฮอนด้าเท่านั้นที่สนใจในตลาดนี้ แต่ยังมีซูซูกิ (Suzuki) ด้วย ซึ่งซูซูกิที่ถนัดการพัฒนารถยนต์ขนาดเล็กอยู่แล้วอาจนำโครงสร้างของแวกอน อาร์ (Suzuki Wagon R) มาต่อยอดเป็น MPV จำหน่ายเลยก็เป็นได้



ที่มา:กระปุกดอทคอม

คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

www.kcycar.com

www.facebook.com/kcyca






หากท่านต้องการซื้อรถมือสองซักคัน แวะมาที่ก้องเจริญยนต์เราเตรียมรถไว้ให้ท่านเลือกกว่าร้อยคัน ทั้งเก๋ง กระบะ ตู้ รถครอบครัวเอนกประสงค์หลากหลาย และบริการทางการเงินเกี่ยวกับรถยนต์ครบวงจร
ฝ่ายขายโทร. 02-447-1212/Line ID:Kcycar99
ใหม่ 085-059-7435
นุ 083-434-6503 
วัน 080-616-0131
วี 090-361-4405 
กวาง 098-258-3351

สายตรง เฮียก้อง 
081-843-8999
__________________________________________
คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ ที่ www.kcycar.com

การดูแลเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง NGV, LPG



ในยุคของเศรษฐกิจ และน้ำมันแพงเช่นนี้ การเลือกเปลี่ยนจากน้ำมันมาเป็นระบบแก็สถือได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการ ค่าประหยัดค่าใช้จ่าย การบำรุงดูแลรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ มีตำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ

1.ควรเลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์ก๊าซให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานอยู่ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของการเผาไหม้ สมรรถนะเครื่องยนต์ และปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกมากับไอเสีย นอกจากนี้ ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ระยะเวลาในการคืนทุน การให้บริการหลังการติดตั้ง และค่าใช้จ่ายในการดูแลซ่อมบำรุงในระยะยาว
2. การปรับแต่งการจ่ายเชื้อเพลิงจะต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ความ ชำนาญของระบบนั้นๆ การปรับแต่งที่ผิดพลาด อาจเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้
3. ผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้ NGV , LPG  ควรสังเกตสิ่งผิดปกติของเครื่องยนต์ เช่น มีเสียงดังผิดปกติ เครื่องยนต์สั่น อย่างไม่ปกติ หากพบอาการดังกล่าว ควรรีบนำรถยนต์ไปให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในระบบนั้นๆ ทำการตรวจสอบแก้ไข
4. ประชาชนที่สนใจจะติดตั้งระบบ NGV , LPG ควรพิจารณาถึงระยะทางใช้งานในแต่ละวัน โดยในแต่ละวัน ควรมีรถยนต์ วิ่งใช้งานอย่างน้อยวันละ 50 กม. ทั้งนี้ถ้าระยะทางที่วิ่งใช้งานน้อยก็จะใช้เวลาคืนทุนนานขึ้น
5. ประชาชนที่จะทำการติดตั้งระบบ NGV , LPG ในเส้นทางใกล้สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน เปิด บริการแล้ว 66 สถานี และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2549 รวม 200 สถานี
6. ตรวจเช็ครอยรั่วของท่อก๊าซ NGV , LPG ทุกเดือน โดยการใช้ฟองสบู่หรือเครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว
7. ตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุก 5,000 กม. ซึ่งบ่อยกว่าถ้าใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว
8. ตรวจเช็คน็อต สกรูที่ยึดถังก๊าซทุกเดือน
9. ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะทางใช้งาน 40,000 - 60,000 กม. (บ่อยกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน) ทั้งนี้ บ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ใช้ก๊าซ NGV , LPG มีโอกาสจะสึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน จึงแนะนำให้ใช้น้ำมัน เบนซินสลับกับการใช้ก๊าซ NGV, LPG บ้างเพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วทำให้บ่าวาล์วมีอายุการใช้งานนาน ขึ้น
ควรเติม TOPBOOSTER ลงในถังน้ำมันเบนซิน และใช้สลับกับ NGV , LPG จะช่วยให้การใช้งานของเครื่องยนต์ท่านยาวนานออกไปอีกนานๆ
การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส
  
มาดูกันครับว่าเราจะดูแลรถแสนรักของเราอย่างไรให้อายุการใช้งานยืนยาวไปตราบ เท่าที่เขาจะอยู่กับเราครับ ติดแก๊สแล้วจะต้องดูแลอะไรบ้าง
              
การติดตั้งแก๊สรถยนต์ย่อมมีผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน เนื่องจาก แก๊สนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้กับรถยนต์ดังนั้นจึงควรมีการดูแลที่ใกล้ชิดพอสมควร

1.   ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของก๊าซ ตามข้อต่อ และจุดต่างๆ ทุกเดือน โดยใช้ฟองสบู่ หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วของก๊าซ
2.   ตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 5,000 กิโลเมตรซึ่งบ่อยกว่าการตรวจเช็คเมื่อใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว (ปกติ 10,000 กิโลเมตร)
3.   ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับเติมก๊าซ ถังก๊าซตรวจ น็อตที่ยึดถังก๊าซทุกเดือน
4.   ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะ 40,000 - 60,000 กม. เพราะบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV และ LPG จะมีโอกาสสึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมันเบนซิล จึงควรที่จะใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซ เพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วบ้างเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น
5.   ห้ามดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานก๊าซที่ได้รับการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้มาตรฐานหากมี ปัญหาให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที
6.  ห้ามเติมก๊าซเกินแรงดันที่กำหนดไว้ของถัง จะทำให้ถังเสื่อมคุณภาพเร็ว และอาจระเบิดได้
7.  เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ควรใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนและหลังการใช้
8.  หากเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ให้รีบหยุดรถ และดับเครื่องยนต์โดยทันที รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซ และห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ ตรวจดูว่าหากไม่มีการรั่วไหล เพิ่ม ให้เปลี่ยนระบบมาใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องแล้วรีบนำรถเข้าไปยังศูนย์บริการที่ ติดตั้งโดยทันที
9.  หากเกิดไฟไหม้ที่ตัวรถให้รีบดับเครื่องยนต์ปิดวาล์วที่ถังก๊าซโดยทันทีถ้าทำได้ และออกห่างจากตัวรถ หรือพยายามดับไฟที่แหล่งกำเนิด
10. เพื่อรักษาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมัน ควรมีน้ำ มัน ติดถังไว้อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ถังเสมอๆ และเพื่อป้องกันระบบปั๊มน้ำมันเสีย



ที่มา: 
คลิกหารถสภาพดี ถูกที่สุดในประเทศ

www.kcycar.com

www.facebook.com/kcyca