รู้ไว้ !!! ตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ต้องทำอย่างไร?

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตรวจสภาพรถ

รถประเภทไหนบ้างที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี ?
  1. รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน
  2. รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถดังนี้
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
ตรวจสภาพรถได้ที่ไหนบ้าง
1. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท เจ้าของรถจะนำไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
2. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้นยกเว้น
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
  • รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ก็ได้
  • รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ (รายละเอียดตามข้อ 7) ให้นำรถไปตรวจสภาพ ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
ระยะเวลาที่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ
การตรวจสภาพรถ เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
แล้วเรื่องค่าตรวจสภาพ ต้องจ่ายเท่าไหร่กัน ?
  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? เพียงเจ้าของรถนำรถและสมุดคู่มือทะเบียนรถไปแสดง
  1. หากตรวจสภาพแล้วผ่านตามเกณฑ์ จะได้รับ ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
  2. หากตรวจไม่ผ่านตามเกณฑ์ สถานที่ตรวจสภาพจะแจ้งให้ท่านเจ้าของรถทราบถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไข แล้วนำมาตรวจใหม่อีกครั้ง หากกลับไปตรวจสถานที่ตรวจเดิม ภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปขอตรวจสถานที่ตรวจสภาพอื่น จะต้องเสียค่าบริการเต็ม
แล้วรถของท่าน อยู่ในข่ายที่ต้องไปตรวจที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้นหรือไม่
  1. รถที่มีการดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้
  2. รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ (เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น)
  3. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ (เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น)
  4. รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  5. รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า (เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น) ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
  6. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  7. รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  • กรมการขนส่งทางบก
  • เรียนรู้เรื่อง ตรอ. กับการขนส่งทางบก http://www.autocheck.in.th/
ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook


ปภ.แนะเรียนรู้ - ป้องกัน ไฟไหม้รถ ..ลดเสี่ยงอันตรายร้ายแรง


ปภ.แนะเรียนรู้ - ป้องกัน ไฟไหม้รถ ..ลดเสี่ยงอันตรายร้ายแรง

ไฟไหม้รถ เป็นอุบัติเหตุ ที่สร้างความสูญเสีย ต่อชีวิตและทัพย์สินจำนวนมาก
** รถที่มักเกิดไฟไหม้
- รถที่ติดระบบก๊าซ LPG หรือ NGV ที่ไม่ได้มาตรฐาน
- รถเก่า ที่มีอายุการใช้งานมานาน และขาดการบำรุงรักษา
- รถที่ผ่านการปรับแต่งสภาพ และใช้อะไหล่ที่ไม่ได่มาตรฐาน
- รถใหม่ที่ไม่ได้ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ ตามวงรอบการใช้งาน

** การป้องกันไฟไหม้รถ
- ตรวจสอบเครื่องยนต์อยู่เสมอ 
- หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของรถ
- เตรียมขวดบรรจุน้ำ และถังดับเพลิงไว้ประจำที่รถ

** ข้อควรปฏิบัติเมื่อไฟไหม้รถ 
" ตั้งสติและนำรถจอดริมข้างทาง ดับเครื่องยนต์และปิดสวิตซ์ เพื่อตัดการทำงานของระบบก๊าซ " 
- กรณีไฟไหม้เล็กน้อย ควบคุมเพลิงในเบื้องต้นด้วย โดยใช้ถังดับเพลิง
- กรณีเปลวไฟบนฝากระโปรง ให้ใช้ถังเคมีฉีดพ่น ผ่านช่องฝากระโปรง
- เมื่อไฟสงบ ให้ใช้ถังับเพลิงฉีดพ่น ห้องเครื่องให้ทั่ว จนไฟดับสนิท
- ถอดขั้วแบตเตอรี่ ออก

** กรณีไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว
- ตั้งสติ ดับเครื่องยนต์ และรีบลงจตากรถ
- ออกห่างจากรถที่เกิดไฟไหม้โดยเร็วที่สุด
- โทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่มาควบคุมเพลิง

ที่มา  : fm91bkk.com

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook



เครื่องหมายจราจร บนพื้นทางประเภทบังคับ

เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ มีลักษณะและมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง หากเราพบเห็นเราควรปฏิบัติอย่าง ดังนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องหมายจราจร บนพื้นทาง
ตัวอย่าง เครื่องหมายจราจร บนพื้นทางประเภทบังคับ ดังต่อไปนี้
เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ
เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ
ลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง หมายความว่าเป็นเส้นแสดงการแบ่งแยกจราจรของรถที่มีทิศทางตรงกันข้าม ให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้นแบ่ง ยกเว้นกรณีที่ต้องแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองเดี่ยว)
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองคู่)
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง (เส้นทึบสีเหลืองคู่)
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลือง (เดี่ยวหรือคู่) แบ่งทางเดินรถ/ทางจราจรในทิศทางตรงกันข้าม หมายความว่าให้ขับรถไปตามด้านซ้ายของเส้น ห้ามมิให้ขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองคู่กับเส้นประสีเหลือง หมายความว่ารถที่ขับอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทึบ ห้ามมิให้ขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด ส่วนรถที่ขับอยู่ทางด้านเส้นประ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยสามารถแซงขึ้นหน้าคันอื่นได้เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ หรือเส้นแบ่งช่องจราจร
เส้นแบ่งช่องจราจร หรือเส้นช่องเดินรถปกติ
ลักษณะเป็นเส้นประสีขาว แบ่งช่องเดินรถหรือจราจรที่มีทิศทางเดียวกัน หมายความว่าให้ขับรถภายในช่องจราจร ห้ามขับคร่อมเส้น เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องจราจรหรือช่องเดินรถ
เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ หรือเส้นห้ามเปลี่ยนช่องจราจร
เส้นห้ามเปลี่ยนช่องจราจร หรือเส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว แบ่งทางเดินรถในทิศทางเดียวกัน ให้เป็นช่องทางเดินรถหรือช่องจราจร หมายความว่าให้ขับภายในช่องจราจร ห้ามขับผ่านหรือคร่อมเส้น
เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง
เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำทาง
ลักษณะเป็นเส้นประสีเหลือง กว้างและถี่ กรณีสวนกระแสการจราจรปกติ และเส้นประสีขาว กว้างและถี่ กรณีทิศทางเดียวกับกระแสการจราจรปกติ ทั้งนี้โดยมีลูกศรสีเหลืองและอาจมีคำว่า รถประจำทาง หรือ BUS สีเหลืองประกอบด้วย หมายความว่าเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง ห้ามขับรถเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
เครื่องหมายห้ามจอดรถ
เครื่องหมายห้ามจอดรถ
ลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับขาว แสดงที่ขอบคันหินหรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หมายความว่าห้ามจอดรถทุกชนิดระหว่างแนว แต่หยุดรับส่งชั่วขณะได้
เครื่องหมายห้ามหยุดรถ
เครื่องหมายห้ามหยุดรถ
ลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหินหรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หมายความว่าห้ามหยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นเด็ดขาด
ADVERTISEMENT
เส้นแนวหยุด
เส้นแนวหยุด
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาวขวางแนวจราจร หมายความว่าเมื่อมีสัญญาณจราจรบังคับหยุด หรือเครื่องหมายหยุด ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นแนวหยุด เมื่อได้รับสัญญาณจราจรให้ไปได้ หรือไม่มีเหตุกีดขวางการจราจร จึงให้ผ่านเส้นแนวหยุดไปได้
เส้นให้ทาง
เส้นให้ทาง
ลักษณะเป็นเส้นประสีขาวขวางแนวจราจร หมายความว่าให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง หากเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยต่อผู้อื่นในทางขวางหน้า และเป็นการกีดขวางการจราจร ให้หยุดรถก่อนถึงแนวทางเส้นให้ทาง
เส้นทางข้าม
เส้นทางข้าม
ลักษณะเป็นแถบสีขาวหลายๆ แถบประกอบกัน หรือเป็นเส้นทึบสีขาว 2 เส้นขนานกัน ขวางทางเดินรถ และมีเส้นแนวหยุดหรือเส้นให้ทางประกอบ หมายความว่าผู้ขับขี่จะต้องขับรถให้ช้าลง และพร้อมที่จะหยุดได้ทันท่วงที เมื่อมีคนเดินข้ามถนน เมื่อคนเดินข้ามไปแล้ว จึงสามารถเคลื่อนรถต่อไปได้
เส้นทแยงห้ามหยุดรถ
เส้นทแยงห้ามหยุดรถ
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงตัดกันภายในกรอบเส้นทึบสีเหลือง หมายความว่าห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยง ยกเว้นรถที่หยุดเพื่อเลี้ยวขวา
ลูกศร
ลูกศร
ลักษณะเป็นลูกศรสีขาว แสดงทิศทางของการจราจรให้รถตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เลี้ยวกลับ หรือร่วมกัน เมื่อปรากฏในช่องจราจรให้ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น
ให้ทาง
ให้ทาง
ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมสีขาว โดยมุมแหลมชี้สวนทิศทางการจราจร หมายความว่าให้ขับรถให้ช้าลง หากเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยต่อผู้อื่นในทางขวางหน้าหรือกีดขวางการจราจร ให้หยุดรถก่อนถึงเส้นให้ทาง
เขตปลอดภัยและเกาะสี
เขตปลอดภัยและเกาะสี
ลักษณะเป็นแถบหรือเส้นทึบสีขาวหรือสีเหลือง ตีทแยงกับแนวทิศทางการจราจร หรือเป็นลักษณะก้างปลา และล้อมรอบด้วยเส้นทึบสีขาวหรือสีเหลือง หมายความว่าห้ามมิให้ขับรถล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
ช่องรถมวลชน
ช่องรถมวลชน
เส้นช่องจอดรถ
เส้นช่องจอดรถ
ลักษณะเป็นเส้นทึบสีขาว แสดงขอบเขตของช่องจอดรถ หมายความว่าให้จอดรถภายในเส้นจอดรถ
ข้อความบังคับบนพื้นทาง
ข้อความบังคับบนพื้นทาง
ลักษณะเป็นข้อความสีขาวบนพื้นทาง หมายความว่าให้ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามข้อความนั้นๆ
ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook


6 วิธีเช็คสภาพรถหลังกลับจากเดินทางไกล

   การตรวจเช็คสภาพรถยนต์หลังจากเดินทางไกลถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวรถถูกใช้งานมาอย่างหนัก ทั้งเผชิญกับหลุมบ่อ, ถนนลูกรัง, การลากรอบเครื่องยนต์เป็นเวลานานๆ แม้กระทั่งการบรรทุกน้ำหนักมากกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการสึกหรอในชิ้นส่วนต่างๆของรถ หากเราตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เบื้องต้น ก็จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีก่อนจะลุกลามบานปลายในระยะยาว

     สิ่งที่ควรตรวจเช็คสภาพหลังกลับจากเดินทางไกล มีดังนี้

     1.เช็คน้ำมันเครื่อง
     ควรเช็คระดับน้ำมันเครื่องเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับปกติ โดยระดับของน้ำมันไม่ควรพร่องลงไปจากระดับที่วัดก่อนการเดินทางมากนัก หากพบว่าน้ำมันเครื่องพร่องลงไปมากหรือต่ำกว่าระดับ MIN ก็ควรตรวจเช็คว่ามีการรั่วซึมจุดใดหรือไม่
     นอกจากนั้นควรเช็คสภาพน้ำมันเครื่องว่าไม่ดำจนเกินไป รวมถึงไม่มีเศษเขม่าเจือปนอยู่ หากพบก็ควรหาเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องใหม่ไปเลย

     2.เช็คสภาพและลมยาง
     การเดินทางไกลอาจส่งผลให้ความดันลมยางลดลง จึงควรเช็คลมยางเมื่อมีโอกาส เพื่อป้องกันการสึกหรอของยางและลดโอกาสเกิดอันตรายจากการขับด้วยความเร็วสูง นอกจากนั้นยังควรตรวจสภาพยางว่าไม่มีอะไรเข้าไปทิ่ม อุด ตำ จนเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วซึมอย่างช้าๆ
     หากพบว่าล้อใดล้อหนึ่งมีความดันลมน้อยผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าล้อข้างนั้นอาจมีอะไรทิ่มเข้าไปแล้วคาอยู่ในเนื้อยาง เป็นเหตุให้เกิดการรั่วซึมอย่างช้าๆ ทางที่ดีควรปะยางหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย

     3.เช็คน้ำหล่อเย็น
     ควรตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทั้งในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ ทางที่ดีน้ำหล่อเย็นไม่ควรลดระดับไปมากนักเมื่อเทียบกับก่อนเดินทางไกล และควรเติมให้ได้ระดับพอดีก่อนใช้งานต่อไป

     4.เช็คช่วงล่างและระบบกันสะเทือน
     การขับรถไปยังที่ที่ไม่คุ้นทาง อาจส่งผลให้ขับตกหลุมได้ ซึ่งหากเป็นหลุมเล็กๆก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากเป็นหลุมขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้ศูนย์ล้อผิดเพี้ยนไปได้ ให้ลองเช็คเบื้องต้นด้วยการปล่อยพวงมาลัยขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หากรถยังคงสามารถวิ่งไปตรงๆ ก็ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ควรเช็คสภาพถนนว่ามีการลาดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลให้รถแฉลบออกด้านข้างได้เช่นกัน
     นอกจากนั้นยังควรตรวจสอบด้วยการฟังดูว่ามีเสียงผิดปกติขณะขับผ่านทางขรุขระหรือไม่

     5.เช็คไส้กรองอากาศ
     การเดินทางไปต่างจังหวัดอาจต้องขับผ่านถนนที่มีฝุ่นมากกว่าปกติ จึงควรเช็คไส้กรองอากาศว่ามีสิ่งสกปรกอุดตันอยู่หรือไม่ หากมีก็ควรเป่าออก หรือเปลี่ยนไส้กรองใหม่ เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
     หากเป็นกรองชนิดแห้งปกติ ถ้าไม่มีฝุ่นมากจนเกินไปนัก สามารถเป่าสิ่งสกปรกออกได้ แต่หากเป็นไส้กรองชนิดเคลือบน้ำมันจะไม่สามารถทำความสะอาดได้ ต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

     6.เช็คสภาพตัวถัง
     ควรล้างรถเมื่อมีโอกาส เพราะฝุ่นควันที่ติดมานั้น อาจสร้างผลกระทบต่อชั้นสีในระยะยาวได้ จากนั้นจึงควรเช็ครอบตัวรถว่ามีรอยบุบหรือรอยขูดขีดใดๆหรือไม่ เพื่อจะได้พิจารณาเคลมประกันหรือทำสีต่อไป (หรือปล่อยไว้เฉยๆก็ไม่ว่ากัน)

     ขั้นตอนเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม เนื่องจากเห็นว่ากลับบ้านได้โดยสวัสดิภาพแล้วก็จบกันไป แต่หากปฏิบัติได้ตามวิธีขั้นต้นนี้แล้วล่ะก็ จะช่วยให้เจ้าของรถสามารถตรวจพบความผิดปกติเบื้องต้นได้ ก่อนปัญหาจะลุกลามใหญ่โตนั่นเอง

สนับสนุนเนื้อหา
Sanook! Auto

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook