9 เส้นทางเลี่ยงรถติด ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ช่วงปีใหม่ 2559

เช็กด่วน ! 9 เส้นทางเลี่ยงรถติด ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ช่วงปีใหม่ 2559

              กรมทางหลวง แนะเส้นทางเลี่ยงการจราจรติดขัดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 จากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคใต้ รวมทั้งหมด 9 เส้นทาง
 
             เป็นที่รู้กันดีว่าในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2559 หรือ ช่วงวันหยุดยาว ใครหลายคนต่างพากันเดินทางออกต่างจังหวัดทำให้เกิดปัญหาสภาพการจราจรติดขัดอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งล่าสุด (25 ธันวาคม 2558) กรมทางหลวง ได้แนะนำเส้นทาง ทางลัดในจุดที่คาดว่าจะเกิดปัญหารถติดเพื่อเป็นข้อมูลแก่ประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทั้งในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 9 เส้นทาง ดังนี้
 
             - เส้นทางกรุงเทพฯ-ภาคเหนือ มี 3 เส้นทาง ได้แก่

เช็กด่วน ! 9 เส้นทางเลี่ยงรถติด ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ช่วงปีใหม่ 2559
 

             1. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) มุ่งหน้า จ.พระนครศรีอยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง-จ.สิงห์บุรี-จ.นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เพื่อมุ่งหน้าสู่ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ และเดินทางไปยังภาคเหนือต่อไป

             2. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) มุ่งหน้า จ.สระบุรี ผ่าน จ.ลพบุรี-อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ มุ่งหน้าสู่ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ และเดินทางขึ้นภาคเหนือ

             3. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 340 มุ่งหน้า จ.สุพรรณบุรี ผ่าน จ.ชัยนาท เพื่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) มุ่งหน้า อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 122 (ทางเลี่ยงเมือง จ.นครสวรรค์) เพื่อมุ่งหน้าสู่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก จ.ลำปาง และจ.เชียงใหม่

 
             - เส้นทางกรุงเทพฯ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 เส้นทาง ได้แก่

เช็กด่วน ! 9 เส้นทางเลี่ยงรถติด ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ช่วงปีใหม่ 2559
 
 
             1. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) มุ่งหน้า จ.สระบุรี ผ่าน อ.ม่วงค่อม (ทางหลวงหมายเลข 205)-อ.ท่าหลวง (ทางหลวงหมายเลข 2256)-อ.ด่านขุนทด (ทางหลวงหมายเลข 2148)-อ.ขามทะเลสอ (ทางหลวงหมายเลข 2068) เพื่อมุ่งหน้าสู่ จ.นครราชสีมา
 
             2. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 305 (รังสิต-นครนายก) มุ่งหน้า จ.นครนายก ผ่านอำเภอบ้านนา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่าน อ.แก่งคอย-อ.ปากช่อง เพื่อมุ่งหน้าสู่ จ.นครราชสีมา
 
             3. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 314 (บางปะกง-ฉะเชิงเทรา) มุ่งหน้า จ.ฉะเชิงเทรา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่าน อ.พนมสารคาม-อ.กบินทร์บุรี-อ.วังน้ำเขียว-อ.ปักธงชัย เพื่อมุ่งหน้าสู่ จ.นครราชสีมา
 
             -  เส้นทางกรุงเทพฯ-ภาคใต้

เช็กด่วน ! 9 เส้นทางเลี่ยงรถติด ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ช่วงปีใหม่ 2559
 

             1. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ/ถ.พระราม 2) มุ่งหน้า จ.สมุทรสาคร ผ่าน จ.สมุทรสงคราม-แยกวังมะนาว จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มุ่งหน้าสู่ จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร และเดินทางไปยังภาคใต้

             2. เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มุ่งหน้า อ.สามพราน ผ่าน อ.นครชัยศรี-จ.นครปฐม-จ.ราชบุรี-แยกวังมะนาว-จ.เพชรบุรี มุ่งหน้าสู่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร ไปยังภาคใต้ต่อไป


             ทั้งนี้ประชาชนสามารถสอบถามรายละเอีดยเพิ่มเติมได้ที่ www.doh.go.th หรือ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) 

5 เรื่องต้องเช็ค ก่อนเดินทางในหน้าเทศกาลปีใหม่

  เมื่อพูดถึงในวาระดิถีปีใหม่แล้ว ช่วงนี้หลายคนอาจจะกำลังมีแผนในการเดินทางไปเที่ยวตามต่างจังหวัด บ้างก็กลับบ้านเพื่อร่วมฉลองเทศกาลที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ทุกครั้งในหลายปีที่ผ่านมา แต่ในขณะที่เราหลายคนอาจจะกังวลเรื่องของการขับขี่ที่ต้องปลอดภัยไว้ก่อน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คงเป็นเรื่องของการดูแลรักษารถยนต์ เพื่อมิให้ไปตายกลางทางเมื่อยามที่ต้องเดินทางไกล
                แม้รถยนต์จะขับได้ในยามที่เราใช้งานปกติ แต่ต้องยอมรับว่า บางทีการเดินทางไกลๆ เป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้รวมถึงระบบอื่น ของตัวรถมีการทำงานที่หนักมาขึ้นเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และวันนี้ ถ้าหากต้องเดินทางไกล บางทีการเช็ครถเป็นสิ่งที่ควรเร่งทำ เพื่อให้การเดินทางไม่สะดุดติดขัดในการทางเดินทาง

                1.แบตเตอร์รี่   เราอาจจะคิดว่าเราไม่ได้ใช้งานมันมากมายนัก แต่แบตเตอร์รี่เป็นสิ่งที่เราใช้งานแอย่างเป็นประจำแบบไม่คาดคิด ยิ่งกับใครที่ชอบฟังเครื่องเสียงดีๆบ่อยๆแล้สวมีโอกาสที่แบตเตอร์รี่จะกลับบ้านเก่าไว กว่าปกติ เช่นเดียวกับการใชงานที่น้อยบางครั้งก็ทำให้แบตเตอร์รี่เสื่อมสภาพได้เช่นกัน
                อาการแบตเตอร์รี่เสื่อมสภาพนั้นสามารถตรวจเช็คได้ง่าย สังเกตจากการสตาร์ทรถยนต์ในแต่ละครั้งดีที่สุด ซึ่งแบตเตอร์รี่ที่ดี ต้องเก็บประจุไฟได้ดี ทำให้มีแรงดันไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการสตาร์ทรถอย่างง่ายดายกว่าแบตเตอ์รี่ที่เริ่มมีอาการเสื่อมถอย
                2.ยาง เชื่อไหวว่าชีวิตของเรานั้นพึ่งอยู่กับยางรถยนต์มากกว่าที่คิด เพราะมันคือสิ่งที่ตัดสินความปลอดภัยในชีวิตทุกครั้งที่เราขับขี่ .. แม้หลายคนจะไม่ได้คิดถึงข้อนี้ แต่อย่างน้อยที่สุด คุณควรจะตรวจสอบยางก่อนเดินทางเพื่อให้รู้ว่าสภาพยางเป้นเช่นไรเหมาะสมต่อการขับขี่หรือไม่อย่างไร  โดยในเบื้องต้นเริ่มจากการเช็คลมยางของรถให้มีแรงดันเท่ากัน จากนั้นตรวจสอบเนื้อยางว่าเหลือมากน้อยเพียงใด โดยดูจากขีดกลางที่อยู่ระหว่างร่องยาง หรือ สะพานยางว่า เหลือมากน้อยเท่าใด หากเหลือน้อยหรือเท่ากับเส้นดังกลาง ควรจะเปลี่ยนยางก่อนเดินทาง เพื่อลดการสุ่มเสียงยางระเบิด โดยเฉพาะใครที่ขับด้วยความเร็วเป็นประจำ ควรหมั่นเช็คให้มั่นใจ
                3.เบรก หลายครั้งที่เราพบว่า การเดินทางจบลงด้วยอุบัติเหตุเพียงเพราะ เราไม่ได้ดูแลรถยนต์ และเบรกก็มักเป็นจำเลยที่พบเป็นประจำเพียงแค่เราประมาท คิดว่าเบรกยังสามารถใช้งานได้ดีอยู่เลย
                ระบบเบรกคือสิ่งเดียวในรถที่ช่วยชีวิตคุณได้ และมันมีความสำคัญอย่างมากในการขับขี่ แม้เบรกจะทำงานได้ดีอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่เราก็ควรต้องตรวจสอบสม่ำเสมอ โดยสังเกตจากระดับน้ำมันเบรกว่าที่การเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลง ควรรีบตรวจสอบโดยทันที และในกรณีที่เข้าขั้นวิกฤติคุณอาจจะพบว่าเบรกมีเสียงดังเวลาใช้งาน ซึ่งหมายถึงว่า เบรกคุณหมดแล้วนั่นเอง แต่ข้อหนึ่งที่ต้องนึกไว้กหากจะเปลี่ยนเบรกคือว่า เบรกนั้นต้องใช้เวลาในการรันอิน ซึ่งเราควรจะเตรียมการตั้งแต่เนิ่นๆ
                4.หม้อน้ำ ระบบระบายความร้อนนน่าจะเรียกว่าเป็นสิ่งที่เรานึกถึงน้อยที่สุดในการขับขี่ เลยก็ว่าได้ และเป็นระบบที่มีความเสี่ยงสูง เพราะกว่าเราจะรู้โดยมากก็ไม่พ้นความร้อนขึ้น จนอาจจะส่งผลถึงเครื่องยนต์พังคาถนนนเลยก็มีให้เห็น เรื่องอาการตัวร้อนนั้น แม้จะไม่มีทางทราบมาก่อน แต่ก็สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจสอบที่พักน้ำสำรองว่ามีการพร่องหายหรือไม่ เช่นเดียวกับสภาพน้ำหล่อเย็นมีสภาพเป็นสนิมหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง เช่นเดียวกับระบบพัดลมไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่ามีการทำงานปกติหรือไม่ ด้วย และถ้าพบปัญหาก็ควรรีบแก้ไขโดยทันที
                5.ระบบปรับอากาศ แม้จะไม่ใช่ระบบที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการการขับขี่รถยนต์โดยตรง แต่หากต้องเดินทางไกล คงจะไม่มีใครอยากจะเดินทางแบบเหงื่อตก และระบบปรับอากาศเป็นตัวช่วยสำคัญในการขับขี่  ที่ช่วยในการเดินทางไม่หงุดหงิดงุ่นง่าน การตรวจสอบระบบแอร์นั้น ทางที่ดีควรพึ่งผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าคิดว่ารถเรายังมีความเย็นจากแอร์ที่รถยังดีอยู่ ก็ไม่ได้จำเป็นนักที่จะต้องเช็คอะไรให้ยุ่งยาก
                ความจริงการดูแลรถยนต์นั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิดและคุณก็สามารถที่จะตรวจสอบเองได้ และเมื่อเรารู้ก่อนที่มันจะเสียหาย ก็ยังเป็นช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากได้รับความเสียหาย


ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook

สะพัด ! จ่อแก้กฎหมาย เมาแล้วขับ-ทำคนตาย โทษหนักถึงประหารชีวิต

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

           อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา เผย สำนักงานศาลยุติธรรมเตรียมเสนอแก้กฎหมาย เมาแล้วขับ หากทำคนตาย โทษถึงประหารชีวิต

           เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558 นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่า มีข่าวว่า ทางสำนักงานศาลยุติธรรมกำลังจะเสนอแก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับกรณี "เมาแล้วขับ" โดยจะเสนอแก้กฎหมายว่า หากผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา แล้วขับขี่รถไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ให้ถือว่าเป็นการกระทำโดยเจตนา ซึ่งถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต และขอให้เพิ่มเติมด้วยว่า ให้ศาลสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่รถ และห้ามมิบุคคลนั้นขับขี่รถยนต์ทุกชนิดหรือรถจักรยานยนต์ตลอดชีวิต

           สำหรับข้อความจากเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng มีรายละเอียด ดังนี้

Cr.kapook.com

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook

วิธีสังเกตสัญญาณไฟจากรถบรรทุก

          สวัสดีครับ...เพื่อนๆ นี่ก็ใกล้จะปีใหม่แล้ว เพื่อนๆ หลายท่านคงจะเริ่มวางแผนเดินทางกลับบ้านในช่วงปีใหม่ หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัว วันนี้ kcycar.com จึงมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาช่วยให้การเดินทางไกลของเพื่อนๆ มีความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการสังเกตสัญญาณไฟจากรถบรรทุกที่ร่วมใช้ทางอยู่กับเพื่อนๆ นั่นเองครับ
  1. เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวสลับซ้าย-ขวา หมายความว่า ให้ระวังคันหน้าอาจจะเบรกกระทันหัน มีอุบัติเหตุ หรือ อาจจะมีด่านตรวจ เพราะฉะนั้น ควรเบรกและวิ่งด้วยความเร็วต่ำไม่ควรแซงครับ
  2. เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายทั้งๆ ที่วิ่งอยู่เลนซ้ายสุด หมายความว่า รถบรรทุกคันข้างหน้ายินดีให้เราแซงขึ้นไปได้เลย และถ้าหากเป็นถนนแบบสวนเลน ก็แปลว่าข้างหน้าไม่มีรถ เราสามารถแซงขึ้นไปได้เลยครับ
  3. เปิดไฟเลี้ยวขวา หมายความว่า รถบรรทุกคันข้างหน้าเราอาจกำลังจะแซงคันหน้า หรืออาจจะเลี้ยวขวา หรือถ้าเป็นถนนแบบสวนเลน รถบรรทุกคันข้างหน้ากำลังบอกเราว่าข้างหน้ามีรถ อย่าพึ่งแซงนั่นเองครับ
  4. เปิดไฟสูงเมื่อเราขับแซง หมายความว่า รถบรรทุกนั้นมักจะเปิดไฟสูงเมื่อเราขับแซงเพื่อให้เรามองเห็นทางข้างหน้าและเมื่อรถบรรทุกคันนั้น เอาไฟสูงลงเป็นสัญญาณบอกเราว่าเราแซงพ้นแล้วให้เข้ามาในเลนได้ครับ
  5. ขับสวนแล้วกระพริบไฟ หมายความว่า ถ้าขับสวนเลนกันแล้วรถบรรทุกกระพริบไฟให้เราแปลว่าข้างหน้าอาจจะมีอุบัติเหตุ หรือมีด่านตรวจนั่นเองครับ

   เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องตั้งสติก่อนสตาร์ทนะครับ ง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ และขับรถด้วยความระมัดระวังกันทุกท่านนะครับ และในครั้งหนา kcycar.com จะมีเกร็ดความรู้ดีๆ อะไรมาฝากกันอีกนั้น ก็ต้องติดตามกันนะครับ สำหรับวันนี้คงต้องลากันไปก่อน ขอบคุณและสวัสดีครับ

ที่มา: car.boxzaracing.com
เรียบเรียง : kcycar.com

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook

ศัพท์ประกันภัย ที่คนมีรถต้องรู้และเข้าใจ



วินาศภัย - ความเสียหายใดๆ ซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ และยังรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ, ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย
กรมธรรม์ (Policy) - เอกสารที่ออกโดยผู้รับประกันภัย โดยมีข้อความตรงกับความประสงค์ในใบคำขอ เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อไปซึ่ง ระบุถึงสาระสำคัญของข้อตกลง เงื่อนไข และความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย

ผู้เอาประกันภัย (The Insured) - คู่สัญญาประกันภัยซึ่งมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริงต่อผู้รับประกันภัย ตลอดจนมีหน้าที่ชำระเบี้ย ประกันภัย และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในส่วนที่เอาประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัยก็มีสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ผู้รับประกันภัย (The Insurer) - คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (โดยทั่วไปคือบริษัทประกันภัย) ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายจากกรม การประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิในการรับเบี้ยประกันภัย และมีหน้าที่พิจารณารับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา ในการชดใช้นั้น อาจชดใช้เป็นเงินสด การซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม หรือการหาของชิ้นใหม่มาแทนที่ได้รับความเสียหายก็ได้

ผู้รับประโยชน์ (The Beneficiary) - เป็นบุคคลภายนอกสัญญาที่มีสิทธิเข้ารับประโยชน์ในค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ ผู้รับประโยชน์อาจ เป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้ ในกรณีที่เป็นต่างบุคคล เมื่อมีผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์แล้ว ผู้เอาประกันภัยจะไม่มีสิทธิ รับค่าสินไหมทดแทนอีกต่อไป

ค่าสินไหมทดแทน (Claim Amount) - ความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ โดยความเสียหายดังกล่าว เป็นผลมาจากภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และมีจำนวนตามที่เสียหายจริง

เบี้ยประกันภัย (Premium) - จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งใช้ให้กับผู้รับประกันภัย เนื่องจากสัญญาประกันภัยเป็นสัญญา ต่างตอบแทน ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัย และเกิดความเสียหายขึ้น ผู้รับประกันภัยก็อาจปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ได้ จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะชำระเบี้ยประกันภัยตามหน้าที่ของตน
ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) - ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองในความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เช่น ในการประกันภัยรถยนต์มีการกำหนดความเสียหายส่วนแรกไว้ที่ 1,000 บาท/ครั้ง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ละครั้ง หากความเสียหาย เท่ากับ 1,000 บาท หรือน้อยกว่า คุณจะไม่ได้รับการชดเชยจากทางบริษัทประกันภัย หากแต่คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง หากความเสียหายมากกว่า 1,000 บาทคุณจะจ่ายเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เพิ่มขึ้นเอง ค่าเสียหายส่วนแรกจะมีส่วนในการทำให้มูลค่าเบี้ยประกันภัยของคุณลดลงได้ตามจำนวนที่ระบุ นอกเหนือจากนั้น ยังทำให้ผู้เอาประกันภัยมีความระมัดระวังมากขึ้น (เพราะการเกิดความเสียหายขึ้นจะหมายถึงการเสียค่าเสียหายส่วนแรกด้วย)

ทุนเอาประกันภัยหรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัย (Sum Insured) - จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นตามสัญญา


ขอบคุณบทความจาก SILKSPAN.COM

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook

การเลือกเครื่องยนต์ดีเซลมาโมดิฟาย ถ้าใช้เครื่องพื้นฐานดี ทนทาน ! มีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอน จริงหรือไม่?

 Isuzu All New D-Max ปิคอัพที่สร้างชื่อในเวทีการแข่งขันระดับโลก
       มอเตอร์สปอร์ต หรือ การแข่งขันรถยนต์ จัดว่าเป็นกิจกรรมสุดโปรดที่วัยแรงอย่างเราๆ ท่านๆ ทุกคนชื่นชอบ ซึ่งการแข่งขันรถยนต์แต่ละรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น DragDriftCircuitGymkhana หรือแม้แต่วงการทางฝุ่นอย่าง Off Road ก็จะมีสไตล์และความมันส์ที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนหรือมีความคล้ายคลึงกันนั่นก็คือ เรื่องพื้นฐานของตัวรถ และเครื่องยนต์ที่ต้องมีความทนทาน สามารถพร้อมรับกับภารกิจ การทำงานในสภาวะที่หนักกว่าการใช้งานทั่วๆ ไปหลายเท่าตัว ดังนั้นการเลือกเครื่องยนต์ที่มีความเหมาะสม จึงเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน ที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยทีเดียว

เลือกใช้พื้นฐานเครื่องยนต์ที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

          เครื่องยนต์ นับเป็นปัจจัยหลักในการสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับรถแข่ง จะแรงหรือไม่แรง ก็ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพละกำลังจากเครื่องยนต์ทั้งสิ้น (ไม่นับรวมการจับแรงม้าลงพื้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของระบบส่งกำลังที่แยกย่อยเป็นหลายๆ ส่วน ตั้งแต่เกียร์ คลัทช์ เพลา เฟืองท้าย และยาง) การจะโมดิฟายเครื่องยนต์ให้มีความแรงมากกว่าสแตนดาร์ดที่ถูกกำหนดมานั้น จะต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานหลักๆ หลายประการ ซึ่งทุกชิ้นส่วนนั้น ต้องออกแบบมาให้สามารถทนทานต่อการเค้นเพื่อรีดพละกำลังให้มากขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เสื่อมสภาพ หรือพังในขณะที่ทำการแข่งขัน

ความทนทานของลูกสูบ นับเป็นหัวในสำคัญในการรีดเค้นความแรง

          รูปแบบของเครื่องยนต์ที่ถูกนำมาโมดิฟายเรียกว่ามีอยู่มากมาย ซึ่งรูปแบบหนึ่งที่ถือว่ากระแสกำลังมาแรงในปัจจุบันก็คือ การโมดิฟายเครื่องยนต์ดีเซลที่ในบ้านเรากำลังได้รับความนิยม โดยสำนักต่างๆ ได้คิดค้นสูตรการเพิ่มความเร้าใจเพื่อให้รถของทางสำนักมีความแรงระดับแนวหน้า ซึ่งเครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นขุมพลังแบรนด์ชั้นนำอย่าง Isuzu ที่ประจำการอยู่ใน Isuzu All New D-MAXที่หลายๆ สำนักประสบความสำเร็จและสร้างชื่อจากเครื่องยนต์แบรนด์ Isuzu มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่ง ทนทาน เหมาะกับการโมดิฟายต่อยอด ตั้งแต่ในส่วนบนของเครื่องยนต์ตระกูล 4J ที่มีให้เลือกทั้ง 2.5 และ 3.0 ลิตร ไม่ว่าจะเป็นฝาสูบ แคมชาฟท์ ท่อร่วมไอดี ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การรีดเค้นกำลังนั้น ทำได้ดีกว่าเครื่องยนต์ดีเซลทั่วๆ ไปที่มีอยู่ในท้องตลาด และไฮไลท์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เรื่องพื้นฐานและความทนทานของท่อนล่าง ทั้งลูกสูบ ข้อเหวี่ยง ชาฟต์อก ชาฟต์ก้าน ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถทนต่ออัตราการบูสต์สูงๆ จากเทอร์โบได้ อันเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในการแข่งขันเลยก็ว่าได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เอง เป็นปัจจัยที่ทำให้นักแข่งกระบะดีเซลระดับชั้นนำของประเทศไทย เลือกที่จะใช้เครื่องยนต์ Isuzu ในการแข่งขันรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลายนั่นเอง


เมื่อพื้นฐานดี ความสำเร็จก็ย่อมรออยู่เบื้องหน้าเช่นนี้
 
          พื้นฐานดี...มีชัยไปกว่าครึ่ง คงไม่ใช่คำพูดที่เกินจริง เมื่อเรากำลังกล่าวถึงความอึด ทนทายาทของขุมพลังดีเซลจาก Isuzu ที่สร้างชื่อทั้งในและต่างประเทศมาแล้วมากมาย โดยผลงานของนักแข่งและสำนักแต่ชั้นนำ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยประกาศศักดาให้ชาวโลกได้รู้ว่า “ดีเซลไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก” จากผลิตผลที่ยอดเยี่ยมจาก Isuzu นั่นเอง

ที่มา : boxzaracing.com

ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook

แก๊สรั่ว...จงตั้งสติ



        การแก้ปัญหาเบื้องต้นเรา ต้องหมั่นสังเกตโดยปกติ การใช้รถก็ควรจะ “สังเกต” ให้เป็นนิสัย เพื่อจะได้ทราบถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับรถของเรา ไม่ต้องเฉพาะ รถแก๊สอย่างเดียวหรอกนะค่ะ “รถทุกคัน” นั่นแหละ ถึงเวลาเกิดปัญหาก็ไม่สนใจ จนมันเกิดเป็นปัญหาใหญ่นั่นแหละ แล้วจะ รู้สึก!!!

         อีกอย่างหนึ่งแก๊สรั่ว อย่ามัว สติแตก มันไม่ระเบิดทันทีอย่างที่คิดหรอกบางคนได้กลิ่นแก๊สรั่ว ก็พาลจะสติแตกเอาได้ กลัวไฟจะลุก กลัวจะระเบิดตูมตามดังในข่าว จริงๆ แล้ว LPG มันจะไม่ระเบิดทันที เนื่องจากมันเป็นแก๊สหนัก เวลารั่วมันจะลอยไปในอากาศ มันจะไม่ติดไฟกลางอากาศ เพราะแก๊สจะติดติดไฟ และระเบิดได้ จะต้องมีประกายไฟและแรงอัด แต่สำหรับแก๊ส LPG แล้วนั่น โอกาสจะเกิดกำลังอัดจนระเบิดแทบไม่มี เว้นก็แต่รถชนหนักๆ ท่อ แก๊สแตก เกิดการรั่ว เกิดประกายไฟ อันนั้นทำให้ไฟลุกและระเบิดได้ เช่นเดียวกับน้ำมันก็ระเบิดได้ถ้าเจอเคสชนหนักจนท่อน้ำมันแตก ส่วน CNG พวกนั้นจะเป็นแก๊สเบา พอรั่วก็ลอยขึ้นด้านบนอย่างเดียว ขึ้นฟ้าไปเลย เพราะฉะนั้น มันไม่ได้รั่วแล้วระเบิดเลยอย่างที่คิด ยังพอมีเวลาให้ เราแก้ไขปัญหาได้ก่อนอยู่พอสมควร ตรงกันข้าม เรากลับกลัวน้ำมันรั่วมากกว่า เพราะมันเป็นสถานะของเหลว ที่พร้อมจะฉีดพุ่งไปทั่วห้อง เครื่อง โอกาสที่จะพุ่งไปโดนพวกของร้อนๆ เช่น ท่อไอเสีย แล้วเกิดไฟลุกนั้นมีมากกว่าด้วยซ้ำ



♦ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น

- อันดับแรก “ให้ท่านกดปิดสวิทช์ระบบแก๊สก่อน”

         เพื่อตัดการทำงานของแก๊ส ทิ้งไป ให้กลับไปใช้น้ำมัน แต่โดยปกติแล้ว ถ้ารถคุณเป็นแก๊สระบบ “หัวฉีด” ที่รุ่นใหม่ ทันสมัย ก็จะมีระบบตัดแก๊สทันทีเมื่อเกิดการรั่วไหลอยู่ แล้ว เนื่องจากแรงดันแก๊สในระบบที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน จะมีพวก Check Valve คอยจับแรงดันอยู่ ถ้าแรงดันผิดปกติ มันจะสั่งให้ตัด ระบบแก๊สทันที!! แต่ถ้าเป็นระบบแก๊สที่ค่อนข้างจะราคาถูก หรือรุ่นเก่าๆ ก็อาจจะไม่มีระบบเซฟตี้แบบนี้ หรือรถที่ใช้แก๊สแบบ Mixer ธรรมดา พวกนี้จะไม่มีการตัด เพราะเป็นระบบแมนวล ดังนั้น เมื่อท่านมีความรู้สึกว่าแก๊สรั่ว ก็ “กดสวิทช์ปิดแก๊ส” ซะก่อน เพื่อตัดปัญหาในขั้นตอน แรก

- จอดรถเข้าที่ปลอดภัย แล้วปิดวาล์วแก๊ส

         ถ้าปิดสวิทช์แก๊สแล้ว ยังมี กลิ่นแก๊สโชยมาค่อนข้างแรงอย่างต่อเนื่อง อันนี้แสดงว่ามีการรั่วไหลที่ “สาย” หรือ “หัวต่อ” ต่างๆ จากตรงไหนสักที่นี่แหละ ท่านอย่าเพิ่ง ตกใจ พยายามหาที่จอดรถที่ปลอดภัย ไม่ขวางทางจราจร และควรจะเป็นที่ “โล่งโปร่ง” สักหน่อย เพื่อที่จะได้ตรวจสอบได้อย่างสบายและ ปลอดภัย พยายามหาหน่อยละกัน เพราะรถมันยังวิ่งใช้น้ำมันได้อยู่ แก๊สมันคงไม่ระเบิดในทันทีหรอก หลังจากที่จอดรถได้อย่างปลอดภัยแล้ว ให้ดับเครื่อง เปิดฝากระโปรงหน้าและหลัง พยายามหาต้นตอที่มาของกลิ่นแก๊ส ว่ามันมาจากไหน จากห้องเครื่อง หรือจากฝากระโปรง ท้าย

         - ถ้าเป็นกลิ่น จากห้องเครื่อง ก็น่าจะเป็นการรั่วซึมของข้อต่อต่างๆ เช่น สายแก๊ส หัวฉีดแก๊ส บางทีแค่เหล็กรัดท่อยางกับข้อต่อต่างๆ คลายมันก็ รั่วได้แล้ว ผมเคยเจอเอง ข้อต่อเข้าหม้อต้มรั่ว จอดแล้วกลิ่นแก๊สก็ยังโชยอยู่ ไปตรวจดูเจอพอดี มองไปเป็นก้อนน้ำแข็งเกาะที่ข้อต่อ พอไป ดมดูมันก็คือ “แก๊สดิบ”

         - ถ้ากลิ่นมาจาก ด้านหลัง ที่เคยเจอก็มาจากพวกสายเติม สายแก๊สที่เดินไปกลางรถ อาจจะเกิดการแตกหัก (โดยเฉพาะคนที่ชอบขับรถลุย ใต้ ท้องครูดบ่อยๆ) หรือเป็นที่หัวเติมแก๊สรั่วก็ได้ พอเก่าๆ สปริงวาล์วปิดเปิด (ตรงหัวเติม) มันปิดไม่สนิทบ้าง วาล์วค้างบ้าง อันนี้ก็เคยเจอกับตัว เองเหมือนกัน



สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องรถ อาจจะไม่ต้องไปสืบหาต้นตอว่ามันมาจากไหน เพราะท่านคง จะทำเองไม่ได้ รวมถึงคนที่หาต้นตอเจอ แต่ทำตรงนั้นไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ “ปิดวาล์วแก๊สซะ” ตัววาล์วแก๊สจะอยู่ที่ ถังแก๊ส มันจะมีฝาครอบอยู่ รุ่นเก่าจะเป็นฝาเหล็ก รุ่นใหม่จะเป็นฝาพลาสติกใส บางรุ่นก็มีวาล์วสองตัว ตัวหนึ่งวาล์วเติม ตัวหนึ่งวาล์วส่งแก๊ส เข้าเครื่อง ลักษณะมันก็เป็นเหมือน “ลูกบิด” หรือ “ก๊อกน้ำ” ปิดไปทางขวามือ เหมือนกับท่านปิดก๊อกน้ำนั่นแหละ อันนี้เป็นการปิดไม่ให้แก๊ส ไหลออกจากถัง ตัดต้นตอกันไปเลย แต่กลิ่นอาจจะยังไม่หายไปเสียทีเดียว เพราะว่ามันยังมี “แก๊สค้างสาย” อยู่ ต้องรอสักพัก แต่อย่างไรก็ ตาม ปิดวาล์วแก๊สซะก่อนก็อุ่นใจดี



 ขอบคุณข้อมูลจาก : rongrod