ขับรถเที่ยวหน้าหนาวให้ปลอดภัยไร้กังวล

ขับรถเที่ยวหน้าหนาวให้ปลอดภัยไร้กังวล
ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้มีฤดูหนาวแบบหฤโหดเหมือนกับทางฝั่งตะวันตกซึ่งต้องเตรียมพร้อมยางลุยหิมะกันยกใหญ่ แต่คนที่ชื่นชอบการขับรถเที่ยวดอยสูงก็ควรเตรียมความพร้อมทั้งคนและรถเช่นกัน
หลายจังหวัดทั้งภาคเหนือและภาคอีสานมักคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศที่ต้องการสัมผัสอากาศหนาวในช่วงปลายปี แน่นอนว่า อุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้นตามจำนวนผู้คนที่ขับรถท่องเที่ยวมากกว่าช่วงเวลาปกติ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับการขับรถหน้าหนาวอย่างไรให้ปลอดภัยไร้กังวล

1. อุ่นเครื่องยนต์ให้นานขึ้น
เริ่มจากก่อนออกเดินทาง ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้นานกว่าเดิม อย่างน้อยสัก 1 นาทีเพื่อให้เครื่องยนต์ได้ “วอร์มอัพ” น้ำมันหล่อลื่นและชิ้นส่วนต่างๆ มีความพร้อมทำงานอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันการสึกหรอและยืดอายุการใช้งานของตัวรถ
2. ใช้ไฟตัดหมอก
ถึงเวลาแล้วที่คุณจะได้ใช้ไฟตัดหมอกให้เป็นประโยชน์ เมื่อต้องขับขี่ผ่านเส้นทางเทือกเขาสูงหรือกระทั่งถนนทางราบในหลายจังหวัดของภาคเหนือและอีสานในช่วงสิ้นปีมักจะมีหมอกควันในช่วงเช้าหรือเย็น (บางครั้งตลอดทั้งวัน) ดังนั้น ควรเปิดไฟตัดหมอกเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยทั้งแก่ผู้ขับขี่เอง และเพื่อนร่วมท้องถนนที่จะเห็นคุณได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ควรเปิดระบบไล่ฝ้าเป็นระยะเพื่อเพิ่มการมองเห็น

https://img.icarcdn.com/autospinn/body/Drive-Safely-in-Fog.jpg
3. หลีกเลี่ยงการจอดไหล่ทาง
ถ้าไม่มีความจำเป็นถึงที่สุดจริงๆ ไม่ควรจอดรถบริเวณไหล่ทางเนื่องจากทัศนวิสัยที่เลวร้ายทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนได้ง่าย ควรมองหาที่จอดพักรถ ปั๊มน้ำมันหรือจุดชมวิวที่ลึกเข้าไปข้างทาง
4. ขับช้ากว่าปกติ
การขับรถท่ามกลางหมอกควันไม่ต่างจากการขับรถท่ามกลางฝนตกหนัก ควรลดความเร็วลงกว่าปกติเพื่อป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุ เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นถนนหนทางได้ชัดเจนนัก ความเร็วที่ช้าลงจะช่วยเพิ่มระยะเวลาการตัดสินใจได้มากขึ้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะบนถนนต่างจังหวัดที่มักมีรถมอเตอร์ไซค์และจักรยานของชาวบ้าน รวมถึงสิงสาราสัตว์จากป่าข้างทาง
5. ปิดแอร์ รับอากาศบริสุทธิ์สดชื่น
การขับรถขึ้นหรือลงดอยช่วยเปิดโอกาส (ที่ไม่บ่อยครั้งนัก) ให้เราสามารถปิดแอร์และเปิดกระจกเพื่อสัมผัสอากาศเย็นอันบริสุทธิ์ที่พัดผ่านได้ การปิดแอร์ขณะขับรถขึ้นลงดอยสูงยังช่วยประหยัดน้ำมันและถนอมการทำงานของเครื่องยนต์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

เรียบเรียง www.kcycar.com

"วันลอยกระทง" ปี 2561 รวม 9 สถานที่ไปลอยความทุกข์โศกใน "กรุงเทพฯ"

"วันลอยกระทง" ปี 2561 รวม 9 สถานที่ไปลอยความทุกข์โศกใน "กรุงเทพฯ"
รวม 9 สถานที่ "ลอยกระทง" ในพื้นที่กรุงเทพฯ

1. สะพานพระราม 8

สถานที่ลอยกระทงสุดฮิต ที่หลายๆ คนตั้งใจเดินทางไปที่นี่มากๆ เพราะนอกจากคุณจะได้ลอยกระทงแล้ว คุณจะยังได้ภาพลอยกระทงที่ติดวิวสะพานราม 8 มาลงโซเชียลรัวๆ ด้วย คือสวยงามแถมอิ่มอกอิ่มใจไปอีก ที่นั่นก็มีงานนะคะ


2. ไอคอนสยาม

เดสติเนชั่นลอยกระทงแห่งใหม่ที่ "ICON SIAM" ที่นี่ก็คงสวยงามอลังการดาวล้านดวงแน่ๆ สำคัญคือใหม่กิ๊ก สมควรไปอย่างแรง ท่าเรือใหญ่โตอลังการ แถมมีพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ ให้คุณได้ชมอีก สำหรับการจัดงานปีนี้นั้น เขาเน้นการใช้กระทงแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเลือกใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติเท่านั้น เพราะเขาไม่อนุญาตให้นำกระทงโฟมเข้ามาในไอคอนสยามทุกกรณีจ้า แถมยังเน้นลอยด้วยกัน ครอบครัวละ 1 กระทงก็พอจ้า ที่นี่เทศกาลลอยกระทงจัดกันยาวนาน ตั้งแต่วันที่ 19 - 22 พ.ย. พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย ณ บริเวณริเวอร์พาร์ค และสุขสยาม


3. The Jam Factory คลองสาน

คือไปลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ The Jam Factory แล้ว ก็ไปดูหนังกลางแปลงด้วย เรื่องแรกเริ่มฉาย 18.00 น. ชื่อเรื่องคือ "มนต์รักทรานซิสเตอร์" ส่วนเรื่องถัดมาคือ "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" ฮ่าๆ อยากไปๆ แต่งตัวย้อนยุคไปด้วยดีมั้ย? ก็เก๋นะคะคุณ


4. เอเชียทีคเดอะริเวอร์ฟร้อนท์

สถานที่ที่ทุกคนต้องไป กับบรรยากาศริมน้ำสุดโรแมนติก เพราะที่นี่คือ ตำนานแห่งการเริ่มต้นทางการค้าระหว่างประเทศ สู่ชุมทางการค้าร่วมสมัยริมแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ไฮไลต์คือ นิทรรศการ “คนไทยกับสายน้ำ จากอดีตสู่ปัจจุบัน” งานศิลป์ร่วมสร้าง Lighting Installation และเพลงชิล ชิลริมน้ำจากศิลปิน


5. ล้ง 1919

ที่นี่คืออารยธรรมไทย-จีนโบราณ ดังนั้นเราไปสักการะ “หม่าโจ้วแห่งบ้านหวั่งหลี” อายุ 200 ปี และชื่นชมสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังโบราณ


6. ท่ามหาราช

ช็อป ชม ชิล ริมเจ้าพระยา เส้นทางสัญจรระหว่างฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี กิจกรรมไฮไลต์ คือเพลิดเพลินกับทัศนียภาพของแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืน และเครื่องลอยกระทงริมน้ำ รีบๆ ไปกันจ้า


7. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ที่นี่สนุกสนานมากขอบอก เพราะมีกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยเพียบ ภายในงานมีเวทีประกวดนางนพมาศจากนิสิตคณะต่างๆ (ขอบอกเลยว่าการจัดประกวดที่นี่ยิ่งใหญ่และสนุกสนานมาก) รวมไปถึงการออกร้านอาหารมากมาย คึกคักกว่าโซนลอยกระทงเสียอีก (ฮา) นอกจากนั้นยังมีซุ้มกิจกรรมจากชมรมต่างๆ อาทิ การเล่นเกม หรือกิจกรรมเพื่อโปรโมตชมรม ซึ่งสร้างเสียงหัวเราะจากผู้ที่ผ่านไป-มาได้เป็นอย่างดี


8. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมักจะจัดงานลอยกระทงทุกปี และที่สำคัญคือเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าไปร่วมงานลอยกระทงได้ด้วย ซึ่งภายในงานจะมีการออกบูธขายของจากเหล่านิสิตจุฬาฯ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ หรือกระทงสวยงามที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีเวทีคอนเสิร์ตเล็กๆ และงานประกวดนางนพมาศอีกด้วย ส่วนปีนี้จัดขึ้นในธีม “รัก มันส์ ลอย” บริเวณสระน้ำจุฬาฯ จ้า


9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ที่นี่ก็สนุกนะจ๊ะ งานลอยกระทงที่ท่าพระจันทร์ เพราะภายในมหาวิทยาลัย จะมีการแสดงดนตรีจากนักศึกษา และซุ้มขายอาหารอีกด้วย ที่บริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดกันไปตามสะดวกจ้า จะไปลอยกระทงที่ไหนก็ตามแต่เลย นอกเหนือจากนี้เรายังมีสวนสาธารณะอีก 30 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร ให้คุณๆ ได้เป็นตัวเลือกสำหรับค่ำคืนนี้


อ่านเพิ่มเติม : 

วันออกพรรษา 2561 วันที่ 24 ตุลาคม

          วันออกพรรษา 2561 ตรงกับวันพุธ ที่ 24 ตุลาคม หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ว่าแต่ ประวัติวันออกพรรษา การตักบาตรเทโว มีความสำคัญอย่างไร มาดูกัน



ประวัติวันออกพรรษา

          เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง 3 เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดยวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา 2561 ตรงกับวันพุธ ที่ 24 ตุลาคม 

          ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับคำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี

          เมื่อทำพิธีวันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงส์ก็คือ  

          - ไปไหนไม่ต้องบอกลา
          - ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
          - มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
          - มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงส์ออกไปอีก 4 เดือน
 ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
          ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ 


          1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลังวันออกพรรษา   
          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน

          ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้  

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ สังกัสสะนคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณหลังวันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด จึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

          2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลังวันออกพรรษา

 
          งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังวันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และมหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำ กลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณีวันออกพรรษา ในแต่ละภาค

          นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป

          วันออกพรรษา ภาคกลาง

          จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

          จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

          แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์ รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล 
          วันออกพรรษา ภาคใต้ 
          ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับชักพระทางน้ำ  

           พิธีชักพระทางบก        

          ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1-2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกแล้ววางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่าง ๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย
  
          พิธีชักพระทางน้ำ  
          ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่าง ๆ โดยการนำเรือมา 2-3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลาย ๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

          ในเขตที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตแม่น้ำลำคลองก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือนจะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต


กิจกรรมต่าง ๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

          1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

          2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

          3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

          4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

          5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

          6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

 
ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธีวันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้

          - เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

          - การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนาน ๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้าง ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

          - ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

          - เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด ๆ ในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

          ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
 
dhammajak.net 
 banfun.com

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว?เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” หรือพระพุทธเจ้าหลวง?ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช”
ในวันปิยมหาราช?พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว?พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์?จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ?พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

ประวัติ ความเป็นมา?วันปิยมหาราช

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวง ของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุข แก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง
เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า
ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว?ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

ราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม :?เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ

ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์?
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

พระราชประวัติ?พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ

สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์

บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า ?พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว? เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑

ระหว่างที่ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม ยิ่งกว่านั้นในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทย ให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้?
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

พระราชานุสาวรีย์

รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยแห่งการปฏิวัติแทบจะทุกทาง เหตุนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันเรี่ยไรเงินสร้างอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ บังเอิญประจวบเหมาะกับพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงพอพระทัยพระบรมรูปหล่อของพระเจ้าหลุยส์จึงขอให้พระองค์ไปประทับนั่งให้ชาวฝรั่งเศสปั้น แล้วหล่อส่งเข้ามาในประเทศ โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451
พระบรมรูปทรงม้านี้ ขนาดทั้งพระบรมรูปและม้า ทรงทำโตกว่าของจริงเล็กน้อย โดยหล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระบรมรูปประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษวรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง 42 ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล
พระองค์กอร์ปด้วยพระราชกฤษฎาภินิหาร เป็นอัจฉริยภูมิบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตสถาพรและให้เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกร ประชาชาติเป็นเบื้องหน้า พระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชาสามารถสอดส่องวินิจฉัย ในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้า ชักจูงประชาชน ให้ดำเนินตามในทางที่งามดีมีประโยชน์เป็นแก่นสาร
พระองค์ทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยู่เนืองนิจในพระวิริยะและพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นข้อขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาด แม้ประโยชน์และความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจจะสละแลกความสุขสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ โดยทรงพระกรุณาปรานี พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์จึงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนชาวสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา พระองค์จึงเป็นปิยมหาราช ที่รักของมหาชนทั่วไป
ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมังคลาภิเษก สัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ อาณาประชาชนชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัชสีมาอาณาเขต มาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้น จึงพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้ ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศเพื่อเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช ให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลปวสาน
เมื่อสุรยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศ กาฬปักษ์ ตติยดิถี ในปีวอก สัมฤทธิมา 41 จุลศักราช 1270 (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี นับเป็นรัชสมัยที่ยืนนานที่สุดในประเทศไทย

"แอร์รถยนต์เหม็นอับ" แก้ได้ง่ายๆสบายกว่าที่คิด!!ไม่ต้องลำบากง้อช่างแถม "ประหยัดเงิน -เวลา"

หามาตั้งนาน!!หมดปัญหา "แอร์รถยนต์เหม็นอับ" แก้ได้ง่ายๆสบายกว่าที่คิด!!ไม่ต้องลำบากง้อช่างแถม "ประหยัดเงิน -เวลา" ด้วย คอนเฟิร์มได้ผลชัวร์ๆ!Googlhttps://line.me/R/ti/p/%40sbg7208oLine


เชื่อว่าคนรักรถคงจะต้องเคยจะปัญหา "แอร์รถยนต์เหม็นอัล" กันมาบ้างใช่ไหม? เพราะบางทีเราอาจจะมองข้ามและดูแลความสะอาดไม่ดีเท่าที่ควรจนทำให้มีปัญหาแบบนี้ตามมา เชื่อว่าถ้ารถใครที่เกิดปัญหานี้คงจะสร้างความหงุดหงิดรำคาญไม่น้อย ทั้งขับไปคนเดียวหรือเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกัน 


แต่วันนี้เรามีทางออกดีๆมานำเสนอให้กับคนรักรถที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ ซึ่งวิธีการก็ทำได้ง่ายๆไม่ยุ่งยากเสียเวลา แถมประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาไม่ต้องขับออกไปให้หาช่างด้วย รับรองได้เลยว่าได้ผลชัวร์ๆ   
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่ทำให้แอร์เหม็นอับ

1. กรองแอร์สกปรก มีฝุ่นหรือสิ่งอุดตัน 


2. มีน้ำหรือความชื้นขังอยู่ในคอยล์เย็น ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆจะทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นที่มาของกลิ่นเหม็นอับเหม็นเปรี้ยวได้


3. การอุดตันของช่องระบายอากาศ พอรวมตัวกับน้ำที่ท่วมขังหรือน้ำการล้างรถ ทำให้เกิดการหมักหมม เกิดความชื้นและกลิ่นเหม็นเข้ามาภายในห้องโดยสารได้ 




และสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาแอร์รถยนต์เหม็นอับ ทำได้แบบง่ายๆ 

1. ใช้สเปรย์ปรับอากาศฉีดพ่นภายในรถ


2. ให้กดสวิทช์ปุ่ม A/C เพื่อปิดการทำงานของระบบแอร์ จากนั้นเปิดพัดลมโดยเร่งไปที่เบอร์แรงสุด ก่อนที่จะถึงที่หมาย หรือก่อนจอดรถประมาณ 5 นาที เพื่อไล่ความชื้นออก และช่วยลดการหมักหมมในระบบแอร์


3. ใส่ดอกไม้ หรือสมุนไพรไว้ในรถ เช่น ดอกมะลิ ใบเตย ฯลฯ เพราะของพวกนี้มันจะมีน้ำมันหอมระเหยตามธรรมชาติ สามารถใช้กลบกลิ่นเหม็นอับต่างๆ ได้

4. นำรถไปจอดกลางแดด จากนั้นเปิดกระจก เปิดประตูทิ้งไว้ทุกบาน เพื่อระบายความชื้น และกลิ่นเหม็นอับต่างๆ


 5. ทำความสะอาดพรมรถ บางครั้งกลิ่นอับที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากแอร์เสมอไป แต่อาจเกิดจากการหมักหมม ของพรมในรถ ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ วิธีแก้ปัญหาคือเอาพรมรถไปล้างและตากแดดให้สะอาดเพื่อกำจัดกลิ่นอับที่เกิดขึ้น และจะให้ดีเอารถไปตากแดดสัก 3-4 ชั่วโมง เปิดประตูรถทั้ง 4 บาน และเปิดพัดลมแอร์ให้สุด เพื่อไล่ความชื้น ออกจากตู้แอร์ 


6. ใส่ถ่านหุงข้าวไว้ในรถ เพื่อช่วยดูดซับกลิ่นต่างๆ


7. น้ำส้มสายชูช่วยได้ ถ้ารถยังมีกลิ่นอับติดรถอยู่สามารถแก้ปัญหาโดยใช้น้ำส้มสายชูช่วยดับกลิ่นได้ แค่เทน้ำส้มสายชูใส่แก้วแล้วเอาไปตั้งไว้ในรถประมาณ 1-2 ชั่วโมง กลิ่นของน้ำส้มสายชูจะช่วยดับกลิ่นอับในรถได้เป็นอย่างดี




แต่ทั้งนี้ การที่แอร์รถยนตืเหม็นอับบางทีอาจจะมาจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถยนต์ด้วย ว่าดูแลเอาใจใส่รถยนต์ดีพอหรือยัง อย่างเช่นทานอาหารในรถ การสะสมของฝุ่นทั้งหลาย แม้แต่น้ำหอมรถยนต์ที่สะสมนานๆ ทำให้เกิดการหมักหมมเกิดขึ้น เพราะอย่างนั้นปัญหาแอร์รถยนต์มีกลิ่นอับได้




ข้อมูลจาก : kaijeaw
เรียบเรียง สุภัทชา เผือกกันสี 
ทีมงาน ที่สุดดอทคอม
www.kcycar.com

วิธีดูแล เบาะผ้า เบาะกำมะหยี่ ให้ปราศจากเชื้อโรค

       

        นอกจากจะต้อง ดูแลในเรื่องของสมรรถนะต่างๆ ของรถยนต์ ให้พร้อมใช้งานในทุกสถานการณ์แล้ว ภายในห้องโดยสารเองก็มีส่วนที่ต้องดูแลรักษาด้วยเหมือนกัน เพราะไม่อย่างนั้นมันอาจสกปรก จนกลายเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคได้ อย่างเช่น เบาะผ้า เบาะกำมะหยี่
     แม้ทุกวันนี้ ค่ายรถยนต์ต่างๆ จะมีออฟชั่นแถมเบาะหนังออกมาให้เลือกมากมาย แต่ก็มีบางคนยังเลือกใช้งานเบาะผ้า เบาะกำมะหยี่อยู่ เนื่องจากให้สัมผัสนุ่มยืดหยุ่น นั่งสบายกว่าเบาะหนัง และเวลาจอดตากแดดเบาะไม่ร้อนแสบก้นแสบขาเท่าเบาะหนัง ฯลฯ
     แต่การใช้เบาะผ้า เบาะกำมะหยี่ ต้องหมั่นดูแล คอยทำความสะอาดบ่อยๆ เพราะเบาะประเภทนี้สามารถกักเก็บฝุ่น ละอองต่างๆ รวมไปถึงซึมซับน้ำได้ง่าย ทำให้ห้องโดยสารเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ อีกทั้งอาจทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอีกด้วย

     และถ้าไม่อยากให้มันสกปรก มีกลิ่นอับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ มาดูวิธีทำความสะอาดง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้
     1. ใช้มือ หรือไม้ ตีไปที่เบาะผ้า เบาะกำมะหยี่เบาๆ เพื่อให้ฝุ่นละอองที่ฝังอยู่ในเบาะลอยขึ้นมาด้านบน จากนั้นจึงใช้เครื่องดูดฝุ่น ดูดสิ่งสกปรกเหล่านั้น
     2. ใช้ผ้า หรือแปรงที่ใช้สำหรับแปลงเบาะ มาแปลงมาลูบบนเบาะให้ทั่ว
     3. ใช้มือ หรือไม้ ตีไปที่เบาะผ้า เบาะกำมะหยี่ แล้วดูดฝุ่นอีกครั้ง เพื่อกำจัดฝุ่นที่ตกค้างออกไปให้หมด
     4. สำหรับรอยเปื้อนคราบต่างๆ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าหมาดๆ มาลูบที่เบาะ (ออกแรงกดพอประมาณ) เสร็จแล้วใช้น้ำยาซักเบาะ หรือถ้าไม่มีให้ใช้น้ำยาซักผ้าแทน ขัดถูให้สะอาด และถ้ามีสเปรย์กำจัดเชื้อโรค ก็สามารถฉีดพ่นลงไปได้ด้วยเช่นกัน
     หากทำครบทุกขั้นตอน และคอยดูแลหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ รับรองได้เลยว่า เศษฝุ่นละออง คราบเปื้อนต่างๆ และกลิ่นไม่พึงประสงค์ จะไม่มีอยู่บนรถของคุณแน่นอน
เนื้อหา Silkspan

เรียบเรียง : Kcycar.com