กรมขนส่งฯจัดแถว′ใบขับขี่′ ′สอบใหม่-ไม่มีตลอดชีพ′



หลังจากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาการออกใบอนุญาตขับรถสำหรับผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ พ.ศ.2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

ประกาศนี้ กำหนดให้ผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ (ไม่ได้มีสาเหตุจากการขาดคุณสมบัติเรื่องอายุ) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รถยนต์ พ.ศ.2522 จะไม่สามารถขอรับใบอนุญาตขับรถฉบับใหม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

เมื่อครบกำหนด 3 ปีแล้ว ผู้ขับขี่รายนั้นต้องการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่อีก ต้องเข้าสู่กระบวนการเหมือนผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถรายใหม่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตมาก่อน จะได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราวแล้วแต่กรณี

กรณีผู้ขับขี่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถชนิดส่วนบุคคลตลอดชีพ จะไม่มีการออกใบอนุญาตขับรถชนิดส่วนบุคคลตลอดชีพทดแทนแต่อย่างใด

ผู้ถูกเพิกถอนต้องการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่จะต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพ เข้ารับอบรมกฎหมายจราจรและการขับขี่ปลอดภัยจำนวน 4 ชั่วโมง ทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 50 ข้อ ต้องทำให้ได้เกณฑ์ผ่าน 45 ข้อ ต้องทดสอบขับรถในสนามสอบมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก และเพิ่มเติมการอบรมเกี่ยวกับการเสริมสร้างจิตสำนึก การปรับพฤติกรรมการขับรถเป็นกรณีพิเศษ อีกจำนวน 3 ชั่วโมง

ยกเว้นการถูกเพิกถอนจากกรณีขาดคุณสมบัติเรื่องอายุ เพราะเมื่ออายุครบตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็สามารถดำเนินการขอใบอนุญาตขับขี่ ใหม่ได้โดยไม่ติดเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วน บุคคลชั่วคราวต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า18 ปีบริบูรณ์ และผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์

สุชาติ กลิ่นสุวรรณ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า การใช้มาตรการเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และการกำหนดระยะเวลางดเว้นไม่ให้ขับรถบนท้องถนนช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และรักษาความสงบเรียบร้อยบนท้องถนน คัดกรองผู้ขับรถไม่มีคุณภาพออกจากท้องถนนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก

ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

ยืน ยันว่ากรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาออกใบอนุญาต ขับรถให้แก่ประชาชน ทั้งการเพิ่มจำนวนชั่วโมงอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรการ เพิ่มจำนวนข้อสอบข้อเขียน โดยเฉพาะผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ ถือเป็นผู้ไม่เหมาะสมในการขับขี่ยานพาหนะ หรือมีระดับความสามารถในการขับขี่ต่ำอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคมและ ประชาชนโดยรวม

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ได้กำหนดไว้ในบทลงโทษ เช่น ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการ ให้ตรวจสอบผู้ขับขี่ หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการให้ทดสอบผู้ขับขี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

กรณีตรวจพบสารเสพติดต้องระวาง โทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุ ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ถ้าการกระทำความผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ทั้งนี้หากการกระทำความผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

นอกจากนี้ ยังมีมาตราเกี่ยวข้องกับการแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ขณะ เดียวกันยังมีกฎหมายห้ามผู้ขับขี่รถขณะเมาสุราหรืออย่างอื่นฝ่าฝืนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ถ้าการกระทำความผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาทและให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อย กว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

หากกระทำความผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึง หนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าการเพิกถอนใบอนุญาตขับ ขี่จะสามารถดำเนินการได้โดยกระบวนการทางศาลพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.2522 ยังระบุไว้ด้วยว่า ในคดีผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือ กฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ นอกจากจะได้รับโทษสำหรับการกระทำดังกล่าวแล้ว ถ้าศาลเห็นว่าหากให้ผู้นั้นขับรถต่อไปอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น ให้ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นได้

แต่กรณีศาล เห็นว่าพฤติกรรมของผู้กระทำผิดอยู่ในวิสัยจะแก้ไขฟื้นฟูได้ ศาลอาจมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นและให้ผู้นั้นทำงานบริการ สังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้อยู่ ในความดูแลของพนักงานคุมประพฤติเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสังคม การกุศลสาธารณะ หรือสาธารณประโยชน์ที่ยินยอมรับดูแลด้วยก็ได้

ส่วนผู้ขับขี่รถในระหว่างถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ตามคำสั่งของศาลนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทด้วย

แหล่งข่าวจากกรมการขนส่งทางบกให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าปัจจุบันมีพ.ร.บ. 2 ฉบับ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก 2522 ที่ผ่านมาเนื้อหาใน พ.ร.บ.ขนส่งทางบก กำหนดเรื่องการเพิกถอนใบอนุญาตไว้อยู่แล้ว ให้ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามารถทำใบขับขี่ได้อีกครั้ง หลังพ้นกำหนด 3 ปี แต่ใน พ.ร.บ.รถยนต์ ตกเนื้อหาในส่วนนี้ไป ดังนั้นทางกรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้มีความชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้ง 2 พ.ร.บ.มากขึ้น และที่ผ่านมาผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตก็จะใช้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก เพื่อทำใบอนุญาตใหม่อีกครั้งอยู่แล้ว

นับเป็นความพยายามของภาครัฐ เพื่อจัดระเบียบของผู้ขับขี่ยานยนต์ให้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกครั้ง หลังจากปัญหาการใช้รถใช้ถนนของคนไทย เกิดขึ้นมาอย่างเรื้อรังและยาวนาน 



MatichonOnline


ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น