การเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ



วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
การเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.
ความเสียหายเบื้องต้นสามารถเบิกได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ร้องขอต่อบริษัทฯ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดจะได้รับเงินจากบริษัท ประกันภัย


ทำอย่างไรเมื่อประสบภัยจากรถ
ทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบผู้ที่ได้รับบาดเจ็ บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บา ดเจ็บโดยอุบัติเหตุจากรถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เ กิดเหตุ มีการประกันภัยหรือไม่ ประกันภัยกับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใดเพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัทประ กันภัยได้ถูกต้อง


การพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมาย
กรณีที่ได้รับบาดเจ็บ คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ขับขี่รถประกันที่เป็นฝ่ายผิดรับ 15,000 บาท เท่านั้น เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น


การขอรับค่าเสียหายผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาท มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายได้จาก
บริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันใด จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภั ยรถคันนั้น แต่หากรถ 
2 คัน ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก เช่น คนข้ามถนน กรณีนี้บริษัทที่รับประกันภัยรถทั้งสองคัน จะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ความเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่าเ สียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความถูกผิดเรียบร้ อยแล้ว
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จ่ายเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กฎหมายกำหนดเท่าน ั้น 


หลักฐานการขอรับค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนากรมธรรม์ประกันภัย สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีเสียชีวิต)
สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำเนาบัตรประตัวของทายาท (กรณีเสียชีวิต) ผู้ประสบภัย / ทายาท ต้องยื่นคำร้องภายใน 180 วัน


ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. 
ผู้ประสบภัย จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ ค่าเสียหาย ดังกล่าว เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้ 

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) 
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท

ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น 
เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีกา รพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้ 
กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามคว ามเป็นจริงไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่ 

รถ 2 คัน ชนกัน ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร พ.ร.บ. คุ้มครองเท่าใด 
 กรณีรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไป ชนกัน ต่างฝ่ายต่างมีประกันตาม พ.ร.บ. และไม่มีผู้ใดยอมรับผิดในเหตุที่เกิด ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองตาม หลักการสำรองจ่าย
กรณีบาดเจ็บ บริษัทจะสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จ จำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท
ต่อคน แก่ผู้ประสบภัย
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะสำรองจ่ายทดแทน/ค่าปลงศพ จำนวน 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) ต่อคน แก่ทายาทผู้ประสบภัย 

ความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี 
 กรณีผู้ประสบภัย ที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดเอง หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภ ัย ดังนี้ ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่จะได้รับความคุ้มครองไม่ เกินค่าเสียหายเบื้องต้น กล่าวคือ หากบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท หรือเสียชีวิตภายหลังรักษาพยาบาลจะรับค่าเสียหายเบื้ องต้นไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีผู้ประสบภัย ที่เป็นผู้โดยสาร/บุคคลภายนอกรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บ และ 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร (ทั้งนี้ ผู้ขับขี่รถที่บริษัทรับประกันภัยไว้ต้องเป็นฝ่ายรับ ผิดตามกฎหมาย)

อย่างไรจึงจะได้รับความคุ้มครองในกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพ 
ผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร ที่จะได้รับจำนวนเงินความคุ้มครอง 80,000 บาท ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้ 

    1. ตาบอด
    2. หนูหนวก
    3. เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
    4. สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
    5. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
    6. จิตพิการอย่างติดตัว
    7. ทุพพลภาพอย่างถาวร
ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ 

เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็น ควรปฏิบัติ ดังนี้ 
กรณีมีผู้บาดเจ็บ



การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

    1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดแล ะสะดวกที่สุดก่อน
    2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
    3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
    4. เตรียมเอกสาร อาทิ ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการ กรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
    5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให ้แก่คนเจ็บ
ข้อพึงปฏิบัติของสถานพยาบาลเมื่อรับผู้ประสบภัย 



เมื่อสถานพยาบาลรับผู้ประสบภัยที่ประสบอุบัติเหตุรถย นต์ ควรปฏิบัติ ดังนี้

    1. ให้การรักษาพยาบาลทันที
    2. ทำประวัติคนไข้ และขอสำเนาบัตรประจำตัวคนเจ็บ
    3. ขอสำเนาประจำวันตำรวจ
    4. บันทึกชื่อบริษัทประกันภัย ของสำเนากรมธรรม์ประกันภัย
    5. บันทึกชื่อ ที่อยู่ ผู้นำคนเจ็บส่งเข้ารักษาพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัย/ทายาทต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น


ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อบริษัทประกันภัย / บริษัทกลางคุ้มครอง



ผู้ประสบภัยจากรถ ฯ หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกรณีไม่สามารถเรี ยกร้องค่าเสียหาย จากบริษัทประกันภัยได้ พร้อมหลักฐาน ดังนี้

    1. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล / สถานพยาบาล
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในบัตรเป็นผู้ประสบภ ัย
    3. สำเนากรมธรรม์ประกันภัย หรือ เครื่องหมายที่แสดงว่ารถมีประกันภัย
    4. สำเนาใบมรณบัตร กรณีเสียชีวิต
    5. สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
    6. สำเนาทะเบียน และสำเนาบัตรประจำตัวของทายาทกรณีผู้ประสบภัยเสียชีว ิต
บริษัท กลางผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นบริษัทประกันวินาศภัย ตั้งขึ้นโดยกฎหมาย คือ 
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับ
คำร้อง และจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. แทนบริษัทประกันภัย มุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริาทที่รับประกั นภัยรถคันที่เกิดเหตุ
นอกจากนี้ บริษัท กลาง ฯ ยังรับประกันภัยตาม พ.ร.บ. เฉพาะรถจักรยานยนต์ โดยปัจจุบันมีสาขาให้บริการทุกจังหวัดแล้ว


เครื่องหมายที่แสดงว่ามีการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. 
เมื่อทำประกันภัยผู้เอาประกันภัยจะได้รับกรมธรรม์คุ้ มครองผู้ประสบภัยจากรถ พร้อมเครื่องหมาย ที่แสดงว่ามีการประกันภัย 
เครื่องหมาย ฯ ต้องติดไว้ที่กระจกหน้ารถด้านใน หรือติดไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน 
การไม่ติดเครื่องหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท


เครื่องหมายชำรุด / สูญหาย


กรณีเครื่องหมายชำรุด/สูญหาย สามารถขอรับเครื่องหมายแทนได้ที่ 

1.สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมการประกันภัย 
2.สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต ทั้ง 4 เขต 
3.สำนักงานประกันภัยทุกจังหวัด 
โดยหลักฐาน ดังนี้ 

  1. ใบแจ้งความกรณีเครื่องหมายหาเครื่องหมายเดิมชำรุด
    1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกัน พร้อมสำเนาภาพถ่ายที่รับรองถูกต้อง หรือหลักฐานอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน หรือใบสำคัยประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง แล้วแต่กรณี หากผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล ให้นำภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนของ

  2. นิติบุคคล เพื่อแสดงชื่อบุคคลที่สามารถกระทำการแทนนิติบุคคล
  3. ตารางกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด หากตารางกรมธรรม์ ฯ สูญหาย ให้ใช้สำเนาตารางกรมธรรม์ ฯ ที่รับรอง ถูกต้องโดยบริษัทประกันภัยและประทับตราบริษัทแทน
  4. กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นขอรับเครื่องหมายแทน ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) จากผู้เอาประกันภัย ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจที่รับรอง ถูกต้อง

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคืออะไร 

-กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
-มีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัท


ประกันภัย/เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ฯ ผู้ประสบภัย / ทายาท ต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ



การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน



ผู้ประสบภัย/ทายาท สามารถยื่นคำร้องขอรับเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้ที่

  1. สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรมการประกันภัย
  2. สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
  3. สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต 4 เขต


การบอกเลิกกรมธรรม์



การบอกเลิกกรมธรรม์ มี 2 กรณี

    1. บริษัทบอกเลิก
      1. ต้องแจ้งการบอกเลิกเป็นหนังสือ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับถึงผู้เอาประกันภัย
      2. ต้องแจ้งการบอกเลิกนั้นไปยังนายทะเบียน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทส่งหนังสือบอกเลิก ไปยังผู้เอาประกันภัย
      3. บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ได้ใช ้บังคับมา แล้วออกตามส่วน
      4. บริษัทต้องส่งเครื่องหมายคืนนายทะเบียน/ทำลายเครื่องหมายนั้นให้ใช้การไม่ได้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนด 30 วัน ที่บริษัทได้บอกเลิก
    2. ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก
      1. ต้องแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษร และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามอัตราเบี้ยประก ันภัยที่ระบุ
      2. ผู้เอาประกันภัย ต้องส่งเครื่องหมายคืนนายทะเบียน / ทำลายเครื่องหมายนั้นให้ใช้การไม่ได้
      3. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก
กรณีผู้เอาประกันภัยบอกเลิก บริษัทต้องแจ้งการบอกเลิกให้นายทะเบียนทราบเป็นหนังส ือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์สิ้นผลบังคับ

ที่มา : thaitritonclub.com
เรียบเรียง : kcycar.com


ติดตามข่าวสารยานยนต์ก่อนใครผ่านทาง Facebook



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น